1    2

 

           พะยูน  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล  อยู่ในอันดับไซรีเนีย (Sirenia)  วงศ์ Dugongidae และในวงศ์นี้มีเพียง 1 สกุล คือ Dugong  และสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้นคือ พะยูน (Dugong dugon )

          ลักษณะทั่วไป
          รูปร่างสัณฐานโดยรวมของลำตัวพะยูนนั้นเป็นทรงกระสวย ค่อนข้างอ้วน  หรือป่องตรงกลาง แต่ป้อมสั้นไม่เพรียวเหมือนปลาโลมา เนื่องจากส่วนหัวเล็กและสั้น  ช่วงอกและท้องขยายกว้าง โคนหางคอดเรียวเล็กลง  พะยูนมีช่วงคอที่สามารถขยับได้ทุกทิศทาง ผิดกับปลาวาฬและแมวน้ำ  แม้ว่าจะมองดูเหมือนกับไม่มีคอก็ตาม ครีบอก


x
พะยูน
ชื่อสามัญ
:  Dugong
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon

ที่มีรูปร่างคล้ายใบพาย และเช่นเดียวกันสามารถเคลื่อนไหวได้รอบทิศทาง  เหมือนกับแขนหรือขาหน้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกชนิดอื่นๆ  ส่วนแพนหางที่แผ่แบนใหญ่ในแนวราบปลายมนโค้ง มีรอยบุ๋มเว้ามาตรงกลาง ทำให้ดูเหมือนว่าหางไม่มีกระดูเช่นเดียวกับปลาวาฬ
          ผิวหนังของพะยูนหนามาก และมีขนเป็นเส้นหยาบแข็ง กระจัดกระจายอยู่ประปรายเช่นเดียวกับหนังช้าง  แต่ผิวสีไม่เข้มนัก มักมีสีอ่อนเป็นสีเทาอมชมพูจนถึงสีน้ำตาล  บนหัวอันค่อนข้างกลมเล็กของพะยูนมีรูจมูกอยู่ตอนหน้าเปิดขึ้นด้านบน จำนวน 1 คู่ มีลักษณะพิเศษ คือ มีแผ่นหนังที่ใช้ปิดรูจมูกเพื่อกันน้ำเข้าขณะที่ดำลงใต้น้ำ  และเปิดออกเมื่อหายใจบนผิวน้ำ  ทั้งนี้เพราะพะยูนหายใจด้วยปอด  ตาของพะยูนมีขนาดเล็กและกลม อยู่ด้านข้างของหัว ไม่มีหนังตาและขนตา  การมองเห็นของพะยูนจัดว่าไม่ดีนัก  แต่มีอวัยวะทดแทน คือ รูหู  ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่มีใบหู อยู่ถัดจากตาไปด้านหลัง  สามารถรับเสียงที่ผ่านมาจากในน้ำได้อย่างดีมาก
          ในช่องปาก กรามบนและกรามล่างมีฟันกรามรูปทรงกระบอก ด้านละ 5-6 ซี่ ซึ่งฟันเหล่านี้ปราศจากเคลือบฟัน  พะยูนเพศผู้จะมีฟันหน้าบนคู่แรก  ซึ่งเป็นฟันที่ใช้ในการกัดและตัดที่งอกยาวออกมามากกว่าพะยูนเพศเมีย  โดยยื่นออกมาประมาณ 6-7 เซนติเมตร  ทำให้ดูคล้ายเขี้ยว  อันอาจเปรียบได้กับคู่งาของช้างพลาย ทั้งนี้เพราะพะยูนและช้างต่างมีต้นตอการวิวัฒนาการมาจากสายบรรพบุรุษเดียวกัน  และเชื่อกันว่าเขี้ยวคู่นี้มีเอาไว้ให้พะยูนเพศผู้ใช้เกาะยึดหลังพะยูนเพศเมียขณะผสมพันธุ์  ป้องกันการลื่น ขนาดของพะยูนมีความยาวตั้งแต่  1-4  เมตร  และน้ำหนักราว 200-900 กิโลกรัม  ลูกพะยูนเกิดใหม่คาดว่ามีความยาว 1 เมตร  และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง  60-100 กิโลกรัม

ถิ่นกำเนิดและอาศัย
          พะยูนมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก  ได้แก่มหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่อัฟริกาตะวันออก ทะเลแดง  อินเดีย  ศรีลังกา  ไทย  มาเลเซีย  อินโดนิเซีย  ฟิลิปปินส์  ลงมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้  เช่นนิวกินี  ออสเตรเลียตอนเหนือ  หมู่เกาะโซโลมอน  หมู่เกาะมาร์แชล  และบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกที่เคยมีรายงานว่าพบพะยูน  คือ  หมู่เกาะริวกิว รวมถึงชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน ซึ่งปรากฏว่าพะยูนเข้าไปปรากฏตัวอาศัยตามแม่น้ำสายต่างๆ ต่อเนื่องกับทะเลเปิด

          พะยูนชอบอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีระดับน้ำค่อนข้างตื้นประมาณ 1-12 เมตร โดยเข้าหากินตามแนวหญ้าทะเลที่มีความลึก 1-3 เมตร และหลบหลีกศัตรูลงไปในความลึกราว 2-7 เมตร  อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลที่พะยูนชอบประมาณ 18-19 องศาเซลเซียส  แต่แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลในเขตร้อนโดยทั่วไปจะประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ก็ตาม พะยูนยังคงอาศัยอยู่ได้ พะยูนเลือกที่อยู่บริเวณชายฝั่งที่มีน้ำทะเลขุ่นและค่อนข้างสงบ ปราศจากคลื่นลมรุนแรง ทั้งนี้เพราะเป็นการง่ายต่อการทรงตัวในน้ำขณะกินหญ้าทะเล

อ่านต่อ