Home    กลับไปหน้าแรก


วิตามินซี

 

วิตามิน ซี เป็น วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ มีประโยชน์คือ ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยเปราะ เลือดกำเดาไหล ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน (โรคลักปิดลักเปิด), ช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กของร่างกาย และอาจมีผลช่วยเสริมภูมิป้องกันโรคหวัดได้

ปกติขนาดที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ 60 มิลลิกรัม ซึ่งการรับประทานวิตามิน ซีวันละมากๆ เช่น 1,000 มิลลิกรัม ต่อ วันขึ้นไป นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าอาจทำให้เกิดนิ่วประเภทอ๊อกซาเลทได้ หรืออาจท้องเสีย, ปัสสาวะบ่อย อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการหลายท่านยังปฏิเสธว่าไม่เกิดผลเสียเหล่านี้ ดังเห็นได้จากหญิงตั้งครรภ์ซึ่งได้รับวิตามิน ซี ปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลาหลายๆเดือนค่ะ


จาก ภญ. มุยะรี องค์เจริญ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 44 เวลา 17:03:00

วิตามิน ซี ในอาหารมี 2 รูปแบบ ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด คือ ascorbic acid และ dehydroascorbic acid แหล่งของวิตามินซี อยู่ในพืช ผัก ผลไม้ ที่มี รสเปรี้ยว วิตามิน ซี เป็นสารที่สลายตัวง่ายเมื่อมีความร้อน โลหะหนัก และ ascorbic oxidase enzyme ซึ่งมีอยู่ในผลไม้ 
ประโยชน์ 

วิตามินซี มีบทบาทกว้างขวางในหลายระบบได้แก่
1.Hydroxylation ของ prolin เพื่อสร้างcollagen ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ กระดูก กระดูกอ่อนฟันและผนังเส้นเลือด เป็นต้น 
2.การสังเคราะห์ epinephrine และ steriod ที่ต่อมหมวกไต 
3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อของเม็ดเลือดขาว 
4. เมตาบอลิสมของกรดโฟลิก 
5. การปลดปล่อยเหล็กจาก transferin 
6. การ reduce เหล็กจาก ferric เป็นferrous ในกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มการดูดซึมของเหล็ก 
7. การเปลี่ยน phenylalanine เป็น tyrosine 
8. antioxidant 

อาการขาด 
หากร่างกายขากวิตามินซี ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกของการมีเลือดออกตามไรฟัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหงือกบวม ฟันหลุดง่าย ผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรคลักกะปิดลักกะเปิด หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตายได้ ทารกที่ขาดวิตามิน ซี จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต มีเลือดออกตามเหงือก และผิวหนัง มีความบกพร่องในการเจริญเติบโตของกระดูก และอาจเป็นโรคโลหิตจางได้

ข้อบ่งใช้ 
1. โรคเลือดออกตามไรฟัน [Scurvey] 
2. เมื่อร่างกายมีความต้องการวิตามิน ซี เพิ่มขึ้น เช่น chronic hemodialysis แผลในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็ง เป็นต้น 
การใช้ที่ไม่เหมาะสม 
การใช้วิตามิน ซี ในการรักษาโรคต่อไปนี้ ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ เช่น โรคมะเร็ง เหงือกอักเสบ โรคติดเชื้อ bleeding ฟันผุ โลหิตจาง สิว เป็นหมัน ชะลอความแก่ หลอดเลือดแข็ง และโรคหวัด 

ข้อควรระวัง
1. การเกิด rebound scurvy ในเด็กแรดเกิดที่มารดาได้รับวิตามินซี ขนาดสูงขณะตั้งครรภ์ และผู้ใหญ่ที่ได้รับวิตามิน ซี วันละ 2-3 กรัม เป็นประจำ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน 
2.วิตามินซี ชนิดเคี้ยว อาจทำให้เคลือบฟันสึกและผุได้ 
3. การเกิดปฏิกิริยา กับ disulfiram และ mexiletine 
4. การใช้ megadose มีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต 
5. การใช้วิตามินในขนาดสูง ทำให้ผลการตรวจน้ำตาลในเลือดผิดได้ 
6.ควรระวังในผู้ป่วย Thalassemia และ G-6-P D deficiency 
7. วิตามิน ซี ในขนาดสูง ทำลายวิตามิน บี 12 ในอาหารได้ 

ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างวิตามินซี กับยาอื่นๆ
1.วิตามินซี ห้ามใช้กับยาจำพวกกันเลือดแข็ง เช่น วอร์ฟารินโซเดียม เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น 
2. การที่วิตามินซีมีฤทธิ์เป็นกรด จะทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ได้เช่น จะมีการดูดกลับของยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดมากขึ้น และเร่งการขับถ่ายของยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง 
3. ถ้าใช้วิตามิน ซีร่วมกับแร่เหล็ก จะทำให้การดูดซึมของเหล็กดีขึ้น 

ถ้ารับประทานวิตามินซีมากเกินไป จะทำให้เกิดผลเสียคือ
1. อาจทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไต เนื่องจากกรดออกซาลิคที่มีมากขึ้นในปัสสาวะ 
2. รบกวนการตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ 

อาการพิษ 
1. อุจจาระร่วง ปวดท้อง rebound scurvy ในเด็กแรกเกิด และผู้ใหญ่ 
2. ถ้าได้รับวิตามิน ซี มากกว่า 1 กรัม/วัน อาจทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวเลวลง เพิ่มการดูดซึมเหล็ก ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อโรคธาลัสซีเมีย 
3. ถ้าได้รับ 1.5 กรัม/วัน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ใน G-6-P D deficiency, เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต ทำให้ผลการตรวจน้ำตาลในปัสสาวะผิดไป 

ขนาดและวิธีใช้
1. Scurvy 
ผู้ใหญ่ 100-250 มก. วันละ 1-3 ครั้ง 7-10 วัน 
เด็ก วันละ 100-300 มก. 
2. Nutritional supplement 
ผู้ใหญ่ วันละ 50-100 มก. 
เด็กต่ำกว่า 4 ปี วันละ 20-50 มก. 

คำแนะนำ

อาหารไม่ใช่ยา โปรดอย่าหลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดผลิตภัณฑ์อาหารว่ามีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค หากพบมีการโฆษณาดังกล่าวให้แจ้ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 590-7354, 590-7355