HOME  :  8

 
  ป่าไม้เมืองไทย  
 

          ป่าที่มีลักษณะพิเศษ  พบได้ในบริเวณทั่วไปในพื้นที่ค่อนข้างจำกัดเป็นหย่อมเล็กๆ เช่น ตามภูเขาหินปูน แอ่งน้ำจืด หรือลานหินบนภูเขาสูง เป็นต้น ความจำกัดนี้ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวกลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งมีชีวิตหายากนานาชนิด
          - เขาหินปูน (
Limestone Forest)  เต็มไปด้วยยอดเขาหินแหลม ตะปุ่มตะป่ำ มีหน้าผา หุบเหวอยู่มาก เกิดเป็นสังคมพืชแบบทนแสง ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ไม้พุ่มแคระ และยังมีเกาะแก่งหินปูนอีกมากมายในท้องทะเลทั้งสองด้านอีกด้วย
          - ป่าบุ่ง - ป่าทาม (Seasonal Flooded Forest)  ในประเทศไทยมีเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่าชนิดนี้มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนอีสานมาช้านานในลักษณะของ "ป่าชุมชน" โครงสร้างของป่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่และไม้พุ่มหนามขนาดเล็กที่ทนการแช่ขังของน้ำได้ดี ป่าบุ่ง-ป่าทาม เป็นที่ลุ่ม สามารถรองรับน้ำป้องกันอุทกภัย และเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนสัตว์ต่างๆ มากมาย

     
 
เขาหินปูน   ป่าบุ่ง - ป่าทาม
...................................................................................................................
โลกงาม - ความหวัง

 

       ทรัพย์สินแผ่นดินไทย
ผูกพันสรรสร้างมา
เมื่อรับและอาศัย
ใช่เร่งทำลายจน
      เมื่อรักและหวงแหน
สำนึกและแรงกาย
รักษาป่าและน้ำ
ให้ไม้ให้สายธาร

 

ทั้งพงไพรสายธารา
อาทรเอื้อเกื้อชีพชน
จงเข้าใจใช้เหตุผล
สิ้นสลดหมดมลาย
จงทดแทนที่เสื่อมหาย
มาร่วมกู้ก่อนเกินการณ์
ให้งามล้ำต่อตำนาน
สืบวิญญาณของแผ่นดิน

...............................................................................................................

จิรนันท์  พิตรปรีชา : ประพันธ์

ที่มาของข้อมูล : สมุดไดอารี่ "ป่ารักษ์น้ำ" ของโครงการ THINK EARTH ประจำปี 2547