สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร

International Treaty

On Plant Genetic Resources for Food and Agriculture
 

< กลับหน้าหลัก

ภาคผนวก ๒
 ส่วนที่ ๑

การตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ

มาตรา ๑

คู่กรณีที่เป็นผู้อ้างสิทธิ (claimant) จะแจ้งต่อเลขาธิการว่าคู่กรณีในข้อพิพาทจะดำเนินเรื่องโดยการตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการตามมาตรา ๒๒ การแจ้งนั้นจะแถลง (state) ถึงประเด็นปัญหา (subject-matter) ของการตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ และรวมถึง โดยเฉพาะ มาตราต่างๆ  ของสนธิสัญญานี้ ซึ่งการตีความหรือการใช้ถือเป็นเรื่องที่กำลังเป็นความกัน หากคู่กรณีในข้อพิพาทไม่สามารถตกลงกันในประเด็นปัญหาของข้อพิพาทก่อนที่ประธานแห่งบัลลังก์ชำระความ (President of the Tribunal) จะได้ถูกตั้งแต่งขึ้น บังลังก์อนุญาโตตุลาการจะเป็นผู้กำหนดประเด็นปัญหานั้น เลขาธิการจะส่งต่อซึ่งข้อสนเทศที่ได้รับไปยังภาคีสมาชิกทั้งหลายของสนธิสัญญานี้

มาตรา ๒

          . ในการพิพาทกันระหว่างคู่กรณีสองฝ่ายในข้อพิพาท บัลลังก์อนุญาโตตุลาการจะประกอบไปด้วยสมาชิกสามคน แต่ละคู่กรณีในข้อพิพาทจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหนึ่งคน และอนุญาโตตุลาการสองคนที่ได้รับการแต่งตั้งจะตกลงร่วมกันตั้งแต่งอนุญาโตตุลาการคนที่สามซึ่งจะเป็นประธานแห่งบังลังก์ชำระความอนุญาโตตุลาการคนหลังนี้จะต้องไม่เป็นคนชาติของคู่กรณีหนึ่งใดในข้อพิพาท หรือมีถิ่นที่อยู่ตามปกติในดินแดนของคู่กรณีหนึ่งใดในคู่กรณีทั้งหลายของข้อพิพาท หรือได้ถูกจ้างงานโดยคู่กรณีใด หรือได้เคยทำการเกี่ยวข้องกับกรณีนั้นในฐานะอื่นใด

          . ในข้อพิพาทระหว่างภาคีสมาชิกมากกว่าสองฝ่าย คู่กรณีในข้อพิพาทที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการหนึ่งคนโดยการตกลงร่วมกัน

          . การว่างลงใดๆ จะได้รับการเติมเต็มโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับการแต่งตั้งในตอนแรก

 
มาตรา ๓

          . หากประธานแห่งบัลลังก์ชำระความไม่ได้ถูกตั้งแต่งขึ้นภายในสองเดือนนับแต่ที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนที่สอง ประธานของเอฟเอโอ จะโดยการร้องขอของคู่กรณีในข้อพิพาท ตั้งแต่ประธานภายในระยะเวลาสองเดือนให้หลัง

          . หากคู่กรณีหนึ่งใดในข้อพิพาทไม่แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการภายในสองเดือนนับแต่ได้รับการร้องขอคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะแจ้งให้ทราบต่อประธานเอฟเอโอ ผู้ซึ่งจะทำการตั้งแต่งภายในระยะเวลาสองเดือนให้หลัง

 

มาตรา ๔

บังลังก์อนุญาโตตุลาการจะทำคำตัดสินโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญานี้ และกฎหมายระหว่างประเทศ

 

มาตรา ๕

เว้นแต่คู่กรณีในข้อพิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น บังลังก์อนุญาโตตุลาการจะเป็นกำหนดกฎแห่งระเบียบของตน

 

มาตรา ๖

บัลลังก์อนุญาโตตุลาการอาจจะ โดยคำร้องขอของคู่กรณีใดในข้อพิพาท ให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่จำเป็น(essential interim measures of protection)

 

มาตรา ๗

คู่กรณีในข้อพิพาทจะอำนวยความสะดวกในงานของ บัลลังก์อนุญาโตตุลาการ และโดยเฉพาะในการใช้วิธีการทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจจัดการของตนจะ

(A.)
จัดหามาให้ซึ่งเอกสาร ข้อสนเทศ และส่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้อง และ

(B.)
ให้อำนาจ หากมีความจำเป็น ที่จะเรียกพยาน หรือผู้เชี่ยวชาญ และรับหลักฐานของเขาเหล่านั้น

 

มาตรา ๘

คู่กรณีในข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการมีพันธกรณีที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งความลับของข้อสนเทศที่พวกเขาได้รับโดยเป็นความลับระหว่างที่มีการดำเนินการพิจารณาของบัลลังก์อนุญาโตตุลาการ

 

มาตรา ๙

เว้นแต่ บัลลังก์อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเนื่องจากพฤติการณ์เฉพาะแห่งคดี ค่าใช้จ่ายของบัลลังก์ชำระความจะถูกรับไปโดยคู่กรณีในข้อพิพาทโดยส่วนแบ่งที่เท่าเทียมกัน บัลลังก์ชำระความจะเก็บบันทึกของค่าใช้จ่าย และจะเตรียมแถลงการณ์สิ้นสุดแห่งค่าใช้จ่ายนั้นแก่คู่กรณีในข้อพิพาท

 

มาตรา ๑๐

ภาคีสมาชิกใดๆ ที่มีส่วนได้เสียในข้อกฎหมายของประเด็นปัญหาของข้อพิพาทที่อาจจะมีผลต่อการตัดสินในคดี อาจจะแทรกแซงในการดำเนินการพิจารณาโดยความยินยอมของบัลลังก์ชำระความ

 

มาตรา ๑๑

บัลลังก์ชำระความอาจจะรับฟัง และกำหนดคำโต้แย้งที่เกิดขึ้นโดยตรงจากประเด็นปัญหาของข้อพิพาท

 

มาตรา ๑๒

คำตัดสินทั้งในระเบียบ และเนื้อหาของบัลลังก์อนุญาโตตุลาการ จะดำเนินไปโดยเสียงข้างมากของสมาชิกของบัลลังก์นั้น

 

มาตรา ๑๓

หากคู่กรณีหนึ่งใดในข้อพิพาทไม่มาปรากฏตัวต่อหน้าบัลลังก์อนุญาโตตุลาการ หรือไม่สามารถแก้ต่าง (defend)  คดีของตนได้ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะร้องขอให้บัลลังก์ชำระความดำเนินการพิจารณาต่อไปและทำการตัดสิน การขาดนั้น (absence) หรือการไม่สามารถแก้ต่างคดีของตนได้ของคู่กรณีจะไม่ถือเป็นอุปสรรค์ (bar) ในการดำเนินการพิจารณา ก่อนที่จะมีคำตัดสินอันเป็นที่สุด (final decision) บัลลังก์อนุญาโตตุลาการ จะต้องทำการจนเป็นที่พอใจว่าสิทธิเรียกร้อง (claim) ทั้งหมดนั้นได้กระทำบนฐานที่มั่นคงแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

 
มาตรา ๑๔

บัลลังก์ชำระความจะมีคำตัดสินอันเป็นที่สุดภายในห้าเดือนนับแต่วันที่ตนมีองค์ประกอบครบถ้วน เว้นแต่ตนเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะขยายขอบเขตของเวลาออกไปอีกเป็นระยะเวลาที่ไม่เกินกว่าห้าเดือน

 
มาตรา ๑๕

คำตัดสินอันเป็นที่สุดของ บัลลังก์อนุญาโตตุลาการ จะถูกจำกัดอยู่ในประเด็นปัญหาของข้อพิพาท และจะแถลงถึงเหตุผลที่เป็นพื้นฐานของคำตัดสินนั้น คำตัดสินนั้นจะประกอบไปด้วยชื่อของสมาชิกที่ได้มีส่วนร่วมและวันที่มีคำตัดสินเด็ดขาดนั้น สมาชกคนใดคนหนึ่งของบัลลังก์ชำระความอาจจะแนบความเห็นต่างหากหรือความไม่เห็นพ้องมากับคำตัดสินอันเป็นที่สุดนั้น

 

มาตรา ๑๖

คำตัดสินของอนุญาโตตุลาการจะมีผลบังคับต่อคู่กรณีในข้อพิพาท คำตัดสินนั้นจะไม่มีการอุทธรณ์ใดๆ เว้นแต่คู่กรณีในข้อพิพาทได้ตกลงกันล่วงหน้าถึงระเบียบการอุทธรณ์

 

มาตรา ๑๗

ข้อโต้เถียง (controversy) ใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณีในข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความและวิธีในการดำเนินการตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดอาจจะถูกยื่นโดยคู่กรณีหนึ่งใดในข้อพิพาทเพื่อการตัดสินของบัลลังก์อนุญาโตตุลาการ ที่ได้มีคำตัดสินดังกล่าว

ส่วนที่ 2

การสมานไมตรี

 มาตรา ๑

คณะกรรมาธิการสมานไมตรีจะได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยการร้องขอของคู่กรณีหนึ่งในคู่กรณีทั้งหลายของข้อพิพาท คณะกรรมาธิการจะ เว้นแต่คู่กรณีจะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนห้าคนโดยคู่กรณีที่เกี่ยวข้องจะแต่งตั้งฝ่ายละสองคน และประธานจะได้รับเลือกร่วมกันโดยสมาชิกนั้น

มาตรา ๒

ในข้อพิพาทระหว่างภาคีสมาชิกมากกว่าสองฝ่าย คู่กรณีในข้อพิพาทที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจะแต่งตั้งสมาชิกในกรรมาธิการโดยการตกลงร่วมกัน หากคู่กรณีในข้อพิพาทสองฝ่าย หรือมากกว่ามีผลประโยชน์ต่างหากจากกัน หรือไม่อาจเห็นพ้องต้องกันได้ว่าตนมีผลประโยชน์ร่วมกัน เขาจะทำการแต่งตั้งสมาชิกต่างหากจากกัน

 
มาตรา ๓

หากการแต่งตั้งโดยคู่กรณีมิได้กระทำลงภายในสองเดือนนับแต่วันที่มีการร้องขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการสมานไมตรี ประธานเอฟเอโอ จะ หากได้รับการเชื้อเชิญโดยคู่กรณีในข้อพิพาทผู้เป็นคนยื่นคำร้องขอทำการแต่งตั้งดังกล่าวภายในระยะเวลาสองเดือนให้หลัง

 

มาตรา ๔

หากประธานของคณะกรรมาธิการสมานไมตรีไม่ได้มีการเลือกสรรภายในสองเดือนนับแต่วันที่สมาชิกคนสุดท้ายของคณะกรรมาธิการได้ถูกแต่งตั้ง ประธานเอฟเอโอ จะ หากได้รับการเชื้อเชิญโดยคู่กรณีในข้อพิพาท ตั้งแต่งประธานภายในระยะเวลาสองเดือนให้หลัง

 

มาตรา ๕

คณะกรรมาธิการสมานไมตรีจะมีคำตัดสินโดยเสียงข้างมากของสมาชิก คณะกรรมาธิการจะเว้นแต่คู่กรณีในข้อพิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น กำหนดระเบียบของตนขึ้นมา คณะกรรมาธิการจะมีข้อเสนอในการหาทางออก (resolution) ของข้อพิพาทนั้น ซึ่งคู่กรณีจะพิจารณาโดยความสุจริต (good faith)

 
มาตรา ๖

ความไม่เห็นพ้องต้องกันว่า คณะกรรมาธิการสมานไมตรีมีอำนาจ หรือไม่จะได้รับการตัดสินใจโดยคณะกรรมาธิการนั้น