สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร

International Treaty

On Plant Genetic Resources for Food and Agriculture
 

< กลับหน้าหลัก


ส่วนที่ ๑ บทนำ

 
มาตรา ๑ วัตถุประสงค์

          .๑ วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญานี้คือ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร และการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันซึ่งผลประโยชน์ ซึ่งเกิดจากการใช้ทรัพยากรนั้น โดยประสานกันอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร

.๒ วัตถุประสงค์เหล่านี้จะบรรลุได้โดยการเชื่อโยงสนธิสัญญานี้ให้ใกล้ชิดกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งองค์การสหประชาชาติ และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

 

มาตรา ๒ การใช้คำศัพท์

เพื่อความประสงค์ของสนธิสัญญานี้คำศัพท์ต่อไปนี้จะมีความหมายดังที่กำหนดไว้ในที่นี้นิยามเหล่านี้มิได้มีความมุ่งหมายที่จะครอบคลุมถึงการค้าขายสินค้า

 

“การอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่” (In situ conservation) หมายความว่า การอนุรักษ์ระบบนิเวศน์และถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และการบำรุงรักษาและการนำกลับคืนมาซึ่งประชากรซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ของชนิดพันธุ์ (species) ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และในกรณีของชนิดพันธุ์พืชที่นำมาปลูกเลี้ยงหรือเพาะปลูก (domesticated or cultivated) ในสภาพแวดล้อมซึ่งชนิดพันธุ์เหล่านั้นได้พัฒนาคุณสมบัติพิเศษขึ้นมา

 

“การอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่” (Ex situ  conservation) หมายความว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร นอกถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ

 

“ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร” (Plant genetic resources for food and agriculture) หมายความว่า วัสดุทางพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งกำเนิดจากพืชและมีคุณค่าจริงหรือมีศักยภาพที่จะมีคุณค่าแก่อาหารและการเกษตร

 

“วัสดุทางพันธุกรรม” (Genetic Material) หมายความว่า วัสดุที่กำเนิดจากพืช รวมถึงส่วนขยายพันธุ์แบบใช้เพศและไม่ใช้เพศที่บรรจุไว้ซึ่งหน่วยที่มีหน้าที่สืบลักษณะของพันธุ์ (functional units of heridity)

 

“พันธุ์พืช”  (Variety) หมายความว่า กลุ่มของพืช ในหน่วยที่เล็กที่สุดทางอนุกรมวิธานเดี่ยว  (single botanical taxon) ที่เล็กที่สุดกำหนดโดยการแสดงออกซึ่งความสามารถในการสืบทอดลักษณะเด่นและลักษณะทางพันธุกรรมอื่นๆ

 

“การรวบรวมนอกถิ่นที่อยู่” (Ex situ  collection) หมายความว่า การรวบรวมทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ไว้นอกถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ

 

“ศูนย์กลางก่อกำเนิด” (Center of origin) หมายความว่า พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ชนิดพันธุ์พืช ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ถูกเพาะเลี้ยง หรืออยู่ในสภาพป่า พัฒนาคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาเป็นครั้งแรก

 

“ศูนย์กลางความหลากหลายของพืชเพื่อการเพาะปลูก” (Center of crop diversity) หมายความว่า พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชเพื่อการเพาะปลูกในสภาพในถิ่นที่อยู่ (in situ  conditions) ในระดับสูง

 

มาตรา ๓ ขอบเขต

สนธิสัญญานี้เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร