สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร

International Treaty

On Plant Genetic Resources for Food and Agriculture
 

< กลับหน้าหลัก


ส่วนที่ ๒ บทบัญญัติทั่วไป

 

มาตรา 4 พันธกรณีทั่วไป

แต่ละภาคีสมาชิกจะให้ความแน่ใจว่ากฏหมาย ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของตนจะสอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญานี้

มาตรา ๕ การอนุรักษ์ การสำรวจ การรวบรวม การแยกแยะลักษณะ การประเมินคุณค่าและการรวบรวมเป็นเอกสารเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร

          .๑ ภายใต้กฏหมายภายในประเทศ และในความร่วมมือกับภาคีสมาชิกอื่นๆ เมื่อมีความเหมาะสมแต่ละภาคีสมาชิกจะส่งเสริมการเริ่มเรื่องแบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (integrated approach) ในการสำรวจ การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรและโดยเฉพาะ (in particular) ตามความเหมาะสมจะ
(A.) สำรวจและทำบัญชีรายการ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการ

เกษตรโดยคำนึงถึงสถานะและระดับของความผันแปรในประชากรที่ดำรงอยู่รวมทั้งพวกที่มีศักยภาพในการใช้งานและประเมินสิ่งที่มีผลคุกคามต่อทรัพยากรเหล่านั้นตามความเป็นไปได้
(B.)
ส่งเสริมการรวบรวม ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร และ

ข้อมูลสมทบที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมพืชที่ตกอยู่ภายใต้การคุกคาม หรือที่มีศักยภาพในการใช้งาน
(C.) ส่งเสริม หรือสนับสนุน ตามความเหมาะสม ความพยายามที่จะจัดการและ

อนุรักษ์ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ในแปลงของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น
(D.) ส่งเสริมการอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่ซึ่งกลุ่มพืชป่าที่นำมาเพื่อการเพาะปลูก (wild

crop relatives) และพืชป่าสำหรับการผลิตอาหาร รวมทั้งในพื้นที่คุ้มครอง โดยให้การสนับสนุนความพยายามของคนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นนอกเหนือจากสิ่งอื่นๆ (inter alia)
(E.) ร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาระบบการอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่ที่มีประสิทธิ

ภาพและยั่งยืน โดยให้ความเอาใจใส่ตามสมควรต่อความจำเป็นในการรวบรวมเป็นเอกสาร การแยกแยะลักษณะ การก่อร้างขึ้นใหม่ และการประเมินคุณค่าอย่างพอเพียง และส่งเสริมการพัฒนาและการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อความประสงค์ดังกล่าวโดยมีมุมมองที่จะทำให้การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ดีขึ้น
(F.)
เฝ้าระวังในการบำรุงรักษาความสามารถในการมีชีวิตอยู่ได้ ระดับความผัน

แปรความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพันธุกรรม (genetic integrity) ของการรวบรวม ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร

          ๕.ภาคีสมาชิกจะก้าวนำ (take steps) ตามความเหมาะสมเพื่อลด หรือหากเป็นไปได้กำจัดการคุกคามต่อทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร

 

มาตรา ๖ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืช

          .๑ ภาคีสมาชิกจะพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งนโนบายและมาตรการทางกฏหมายที่เหมาะสมในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร

           .๒ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร อาจจะรวมไว้ซึ่งมาตรการ เช่น

(A.)
ดำเนินตามนโนบายการเกษตรที่เป็นธรรมอันจะส่งเสริม ตามความเหมาะสม

การพัฒนาและการบำรุงรักษาความหลากหลายของระบบการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มพูนการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ
(B.)
ทำให้มั่นคงซึ่งงานวิจัยที่เพิ่มพูนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

โดยเพิ่มความจำเพาะภายในและระหว่างความผันแปรเพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดและใช้พันธุ์ของตน และประยุกต์หลักการทางนิเวศวิทยาในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และในการต่อสู้กับเชื้อโรค วัชพืช และสัตว์รบกวน
(C.) ส่งเสริมตามความเหมาะสมความพยายามในการปรับปรุงพันธุ์ โดยการมี

ส่วนร่วมของเกษตรกร โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่ทำให้ความสามารถในการพัฒนาพันธุ์เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศวิทยา รวมทั้งในบริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อ(พรมแดน) (marginal)
(D.)
ขยายฐานพันธุกรรมของพืชเพื่อการเพาะปลูก และเพิ่มขอบเขตของความ

หลากหลายในพันธุกรรมที่มีไว้เพื่อเกษตรกร
(E.)
 ส่งเสริม ตามความเหมาะสมการใช้แบบขยายผลซึ่งพืชเพื่อการเพาะปลูก

พันธุ์กรรมพืชและชนิดพันธุ์ที่ไม่ค่อยถูกใช้งานทั้งที่เป็นพืชพื้นเมือง และพืชที่ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น
(F.)
 สนับสนุน ตามความเหมาะสมการใช้ความหลากหลายของพันธุ์และชนิด
พันธุ์ในวงกว้างขึ้นในการจัดการในแปลง การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่นยืนซึ่งพืชเพื่อการเพาะปลูก และสร้างการเชื่อมโยงที่เข้มแข็งไปยังการปรับปรุงพันธุ์และการพัฒนาทางการเกษตรเพื่อลดความเปราะบางของพืชเพื่อการเพาะปลูกและความร่อยหรอลงของพันธุกรรม และส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตอาหารของโลกที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ
(G.)
    พิจารณา และตามความเหมาะสมปรับยุทธศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์ และข้อ

บังคับเกี่ยวกับการปลดปล่อยพันธุ์และการกระจาย (จำหน่าย) เมล็ดพันธุ์

 

มาตรา ๗   ข้อผูกมัดภายในประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

.๑  แต่ละภาคีสมาชิกจะ  ตามความเหมาะสม  รวมเอาไว้ในนโยบายและรายการการพัฒนาการเกษตรและชนบท  ซึ่งกิจกรรมที่อ้างถึงไว้ในมาตรา  ๕  และ  ๖  และร่วมมือกับภาคีสมาชิกอื่น  โดยตรงและโดยผ่านทาง  เอฟเอโอ  และองค์การระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง  ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร
        ๗
.๒  ความร่วมมือระหว่างประเทศจะ โดยเฉพาะ มุ่งไปเพื่อ
      (A.)  สร้าง  หรือทำให้มั่นคงขึ้นซึ่งความสามารถของ  ประเทศกำลังพัฒนา  และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ  ในเรื่องการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร
    
(B.)
  เพิ่มพูนกิจกรรมระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์  การประเมินคุณค่า  การรวบรวมเป็นเอกสาร  การทำให้พันธุกรรมดีขึ้น  การปรับปรุงพันธุ์  การเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์  และการแบ่งปัน  การเปิดช่องให้เข้าถึง  การแลกเปลี่ยน  โดยสอดคล้องกับส่วนที่  ๔  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ข้อมูลที่เหมาะสม  และเทคโนโลยี
    
(C.)
   รักษา  และทำให้มั่นคงขึ้นซึ่งการเตรียมการจัดการสถาบันที่เปิดช่องไว้ในส่วนที่ ๕ และ
    
(D.)
   ดำเนินการตามกลยุทธ์ด้านกองทุนตามมาตรา  ๑๘

 

มาตรา  ๘  ความช่วยเหลือทางเทคนิค

           ภาคีสมาชิกตกลงที่จะส่งเสริมการจัดเตรียมความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ภาคีสมาชิก  โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น  ประเทศกำลังพัฒนา  และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ  ไม่ว่าจะเป็นแบบทวิภาคีหรือผ่านทางองค์การระหว่างประเทศที่เหมาะสม  โดยวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้