สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร

International Treaty

On Plant Genetic Resources for Food and Agriculture
 

< กลับหน้าหลัก

ส่วนที่  ๔  ระบบพหุภาคีว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์

 

มาตรา  ๑๐  ระบบพหุภาคีว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์

๑๐. ในความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ  ภาคีสมาชิกรับรองว่าสิทธิอธิปไตยของรัฐเหนือ  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ของตน  รวมถึงว่าอำนาจในการกำหนดการเข้าถึงทรัพยากรเหล่านั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลของประเทศต่างๆ  และอยู่ภายใต้กฎหมายภายในประเทศ

 

๑๐. ในการใช้สิทธิอธิปไตย  ภาคีสมาชิกตกลงที่จะสร้างระบบพหุภาคีซึ่งมีประสิทธิภาพประสิทธิผล  และโปร่งใส  ทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  และในการแบ่งปันในทางที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน  ซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรเหล่านี้  บนพื้นฐานของการเสริมความเข้มแข็งแบบร่วมมือกันและเป็นมิตร

 

มาตรา  ๑๑  ขอบเขตของระบบพหุภาคี

 

๑๑. ในการสร้างความคืบหน้าของวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  และการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันซึ่งผลประโยชน์ที่เกิดจากใช้ทรัพยากรเหล่านี้  ดังที่ปรากฎอยู่ในมาตรา  ๑  ระบบพหุภาคีจะครอบคลุมถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่ขึ้นบัญชีไว้ในภาคผนวก  ๑  ซึ่งสร้างขึ้นโดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  (interdependence)

 

๑๑.ระบบพหุภาคี  ที่ระบุไว้ในมาตรา  ๑๑.๑  จะรวมถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรที่ขึ้นบัญชีไว้ในภาคผนวก  ๑  ซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการและการควบคุมของภาคีสมาชิก  และในความครอบครองของสาธารณะ  โดยมุมมองเพื่อบรรลุถึงความเป็นไปได้สูงสุดของระบบพหุภาคี  ภาคีสมาชิกเชิญชวนให้ผู้มี  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่ขึ้นบัญชีไว้ในภาคผนวก  ๑  ไว้ในครอบครองรวม  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  เหล่านี้ไว้ในระบบพหุภาคี

 

๑๑. ภาคีสมาชิกตกลงที่จะใช้มาตรการที่เหมาะสมในการสนับสนุนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลภายในเขตอำนาจของตนที่มี  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่ขึ้นบัญชีไว้ในภาคผนวก  ๑  ไว้ในครอบครองให้รวม  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  นั้นไว้ในระบบพหุภาคีด้วย

 

๑๑.ภายในเวลา  ๒  ปีนับแต่สนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้  สภาปกครอง (Governing  Body)  จะประเมินความก้าวหน้าในการรวม  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่อ้างถึงในมาตรา  ๑๑.๓  ในระบบพหุภาคี  ภายหลังจากการประเมินผลนี้  สภาการปกครองจะตัดสินใจว่าจะมีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงต่อไปแก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่อ้างถึงในมาตรา  ๑๑.๓  ที่ไม่ได้รวมทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  เหล่านี้ไว้ในระบบพหุภาคี  หรือจะใช้มาตรการอื่นๆ  ที่เห็นสมควรว่าเหมาะสม

 

๑๑. ระบบพหุภาคีจะรวมไว้ซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรที่ขึ้นบัญชีไว้ในภาคผนวก  ๕  และเก็บรักษาไว้ในการรวบรวมนอกถิ่นที่อยู่ของศูนย์การวิจัยด้านการเกษตรนานาชาติของสภารับข้อปรึกษาในเรื่องการวิจัยด้านการเกษตรนานาชาติ (Consultative  Group  on  International  Agricultural  Research – CGIAR)  ที่เปิดช่องให้ในมาตรา  ๑๕.(เอ และในสถาบันนานาชาติอื่น ๆ ด้วย  โดยสอดคล้องกับมาตรา  ๑๕.

 
มาตรา  ๑๒  การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรภายใต้ระบบพหุภาคี

๑๒. ภาคีสมาชิกตกลงว่าการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ภายใต้ระบบพหุภาคี  ตามที่นิยามไว้ในมาตรา  ๑๑  จะสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญานี้

 

๑๒. ภาคีสมาชิกตกลงที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นทางด้านกฎหมาย  หรือมาตรการที่เหมาะสมอื่นๆ  เพื่อเปิดช่องให้มีการเข้าถึงนั้นแก่ภาคีสมาชิกสมาชิกผ่านทางระบบพหุภาคี  โดยผลเช่นนี้  การเข้าถึงนั้นจะเปิดช่องให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลภายใต้เขตอำนาจของภาคีสมาชิกด้วย  ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา  ๑๑.

 

๑๒. การเข้าถึงนั้นจะเปิดช่องให้สอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้

(A.)        การเข้าถึงจะเปิดช่องให้เพียงเพื่อความประสงค์ที่จะใช้และอนุรักษ์  เพื่อการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์  และการฝึกอบรมด้านอาหารและการเกษตร  หากว่าความประสงค์นั้นไม่รวมถึงการใช้เป็นเคมีภัณฑ์  การใช้เป็นเภสัชภัณฑ์  และ / หรือ  การใช้ที่ไม่ใช่เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องเลี้ยงอื่นๆ  ในกรณีของพืชเพื่อการเพาะปลูกที่ใช้ได้หลายรูปแบบ  (อาหารและไม่ใช่อาหาร ความสำคัญของพืชนั้นเพื่อความมั่นคงทางอาหารควรจะเป็นตัวกำหนดการรวมพืชเหล่านั้นเข้าไว้ในระบบพหุภาคี  และการมีไว้เพื่อการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึง

 

(B.)         การเข้าถึงจะพ้องกับการสำรวจ  โดยไม่มีความจำเป็นต้องติดตามการเข้าถึงเฉพาะราย  และไม่มีค่าใช้จ่าย  หรือ  เมื่อมีการเก็บค่าธรรมเนียม  ก็จะไม่เกินกว่าค่าใช้จ่ายขั้นต่ำที่เกี่ยวข้อง

 

(C.)    ข้อมูลที่มีการบันทึก   (passport  data)  ไว้ทั้งหลาย  และภายใต้กฎหมายที่ใช้ได้  ข้อสนเทศที่มีรายละเอียดที่ไม่เป็นความลับอื่นๆ  ที่มีอยู่  จะมีไว้ร่วมกับ  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่เปิดช่องให้ใช้

 

(D.)    ผู้รับจะไม่อ้างสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา  หรือสิทธิอื่นใดที่จำกัดการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  หรือชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบทางพันธุกรรมของทรัพยากรเหล่านั้น  ในรูปแบบที่ได้รับจากระบบพหุภาคี

(E.)    การเข้าถึง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ภายใต้การพัฒนารวมถึงวัสดุที่ได้รับการพัฒนาโดยเกษตรกร  จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้พัฒนา  ภายในช่วงเวลาที่มีการพัฒนานั้น

 

          (F.)    การเข้าถึง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่มีการคุ้มครองโดยสิทธิ   ในทรัพย์สินทางปัญญา  หรือทรัพยสิทธิอื่นๆ  จะสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและกับกฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง

 

(G.)         ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรที่มีการเข้าถึงภายใต้ระบบพหุภาคีและอนุรักษ์ไว้  จะคงมีไว้ให้แก่ระบบพหุภาคีโดยผู้รับ  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรนั้นไปทั้งหลาย  ภายใต้เกณฑ์ของสนธิสัญญานี้  และ

          (H.)   โดยไม่มีอคติต่อบทบัญญัติอื่นๆ  ภายใต้มาตรานี้  ภาคีสมาชิกตกลงว่าการเข้าถึง                 ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่พบในสภาพในถิ่นที่อยู่  จะเปิดช่องให้ตามกฎหมายภายในประเทศ  หรือในกรณีที่ไม่มีกฎหมายดังกล่าว  โดยสอดคล้องกับมาตราฐานซึ่งอาจจะกำหนดโดยสภาการปกครอง

 

๑๒.โดยผลนี้  การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงที่สอดคล้องกับมาตรา  ๑๒.๒  และ  ๑๒.๓  ข้างต้น  จะเปิดช่องให้ตามข้อตกลงถ่ายโอนวัสดุมาตรฐาน  (เอ็มทีเอ)  (standard  MTA)  ซึ่งจะมีการรับเอาโดยสภาการปกครอง  และมีบทบัญญัติของมาตรา  ๑๒.๓  (เอ) (ดีและ  (จี รวมไปถึงบทบัญญัติว่าด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในมาตรา  ๑๓.(ดี) ( และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องอื่นๆ  ของสนธิสัญญานี้และบทบัญญัติที่ผู้รับ  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นรวมไปถึงการถ่ายโอนอื่นๆ ซึ่ง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  นั้นในภายหลัง

 

๑๒. ภาคีสมาชิกจะให้ความแน่ใจว่าโอกาสที่จะได้รับการเยียวยา  (สิทธิไล่เบี้ย)  (recourse)  จะมีอยู่โดยสอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งเขตอำนาจที่มีอยู่  ภายใต้ระบบกฎหมายของพวกเขา  ในกรณีที่มีความขัดแย้งตามสัญญาเกิดขึ้นภายใต้  เอ็มทีเอ  ดังกล่าว  รับรองว่าพันธกรณีที่เกิดขึ้นภายใต้  เอ็มทีเอ  ดังกล่าวขึ้นอยู่เด็ดขาดกับภาคีแห่ง  เอ็มทีเอ  เหล่านั้น

 

๑๒. ในสถานการณ์หายนะฉุกเฉิน  ภาคีสมาชิกตกลงที่จะเปิดช่องให้มีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ที่เหมาะสมในระบบพหุภาคีเพื่อความประสงค์ที่จะช่วยเหลือการจัดตั้งใหม่ซึ่งระบบการเกษตร  โดยความร่วมมือกับผู้ประสานการเยียวยาความหายนะ

 

มาตรา  ๑๓  การแบ่งปันผลประโยชน์ภายใต้ระบบพหุภาคี

 

๑๓. ภาคีสมาชิกรับรองว่าการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ซึ่งรวมไว้ในระบบพหุภาคีประกอบตัวเองขึ้นเป็นผลประโยชน์หลักของระบบพหุภาคี  และตกลงว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนั้นจะมีการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งมาตรานี้

 

๑๓. ภาคีสมาชิกตกลงว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้  รวมถึงการพาณิชย์  ซึ่ง  ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ภายใต้ระบบพหุภาคีจะมีการแบ่งปันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันผ่านทางกลไกต่อไปนี้  คือ  การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ  การเข้าถึงและถ่ายโอนเทคโนโลยี  การสร้างความสามารถ  และการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการพาณิชย์  โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญของบริเวณที่มีการประกอบกิจกรรมในการเคลื่อนไหวของแผนการดำเนินงานทั่วโลก (Global  Plan  of  Action)  ภายใต้การชี้แนะจากสภาการปกครอง

(A.)
         การแลกเปลี่ยนข้อสนเทศ

ภาคีสมาชิกตกลงที่จะมีข้อสนเทศซึ่งจะนอกเหนือจากสิ่งอื่นๆ (inter  alia)  รวมเข้าไว้ซึ่งบัญชีรายชื่อ (catalogues)  และบัญชีรายการ (inventories)  ข้อสนเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยี  ผลลัพธ์ของการวิจัยทางด้านเทคนิค  วิทยาศาสตร์  และสังคม – เศรษฐกิจ  รวมถึงการแยกแยะลักษณะ  การประเมินคุณค่า  และการใช้ประโยชน์  ที่เกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร  ภายใต้ระบบพหุภาคี  ข้อสนเทศนั้นจะมีไว้  หากไม่เป็นความลับ  ภายใต้กฎหมายที่ใช้ได้  และโดยสอดคล้องกับความสามารถของประเทศข้อสนเทศนั้นจะมีไว้ให้แก่ภาคีสมาชิกทั้งหมดของสนธิสัญญานี้ผ่านทางระบบข้อสนเทศที่เปิดช่องไว้ให้ในมาตรา  ๑๗
(B.) การเข้าถึงและถ่ายโอนเทคโนโลยี

( ภาคีสมาชิกอาสาที่จะเปิดช่องให้ และ/หรือ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยี เพื่อการอนุรักษ์ การแยกแยะลักษณะ การประเมินคุณค่า และการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ที่อยู่ภายใต้ระบบพหุภาคี รับรองว่าเทคโนโลยีบางประเภทจะถูกถ่ายโอนได้โดยผ่านวัสดุทางพันธุกรรม ภาคีสมาชิกจะเปิดช่องให้ และ/หรือ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเทคโนโลยีและวัสดุทางพันธุกรรมซึ่งอยู่ภายใต้ระบบพหุภาคีนั้น และการเข้าถึงพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง และวัสดุทางพันธุกรรมที่ได้รับการพัฒนาผ่านทางการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ภายใต้ระบบพหุภาคี โดยสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๑๒ การเข้าถึงเทคโนโลยี พันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง และวัสดุทางพันธุกรรมเหล่านี้จะเปิดช่องให้ และ/หรือ อำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกับการให้ความเคารพ ในทรัพยสิทธิ และกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงที่ใช้ได้ และโดยสอดคล้องกับความสามารถของประเทศ

       (
การเข้าถึงและการถ่ายโอนเทคโนโลยีแก่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ จะดำเนินการผ่านทางกลุ่มของมาตรการ เช่น การสร้าง และการบำรุงรักษาซึ่ง และการมีส่วนร่วมในกลุ่มแนวทางพื้นฐานพืชเพื่อการเพาะปลูก (crop-based thematic groups) ในการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร การเป็นหุ้นส่วนในการวิจัยและพัฒนา และในการเสี่ยงร่วมกันทางพาณิชย์ (commercial joint-ventures) ที่เกี่ยวกับวัสดุที่ได้รับการพัฒนาบุคลากร และการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในวิจัยที่มีประสิทธิผล

       (
การเข้าถึงและการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่อ้างถึงใน () และ () ข้างต้น รวมถึงพวกที่ได้รับการคุ้มครองไว้โดยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นภาคีสมาชิก โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจจะเปิดช่องให้ และ/หรือ อำนวยความสะดวกภายใต้กฎเกณฑ์ที่เป็นธรรมและการอนุเคราะห์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรณีของเทคโนโลยีที่ใช้ในการอนุรักษ์ รวมไปถึงเทคโนโลยีเพื่อผลประโยชน์ของเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งในเกณฑ์ที่ยอมตาม (concessional) และได้รับสิทธิดีกว่า (preferential) หากตกลงกันได้ฉันท์มิตร นอกเหนือจากสิ่งอื่นๆ ผ่านทางหุ้นส่วนในการวิจัยและพัฒนาภายใต้ระบบพหุภาคี การเข้าถึงและถ่ายโอนนั้นจะเปิดช่องให้โดยเกณฑ์ซึ่งรับรอง และสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล

(C.)
การสร้างความสามารถ

    โดยคำนึงถึงความจำเป็นของ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ที่โดยนัยทางการลำดับความสำคัญที่พวกเขาเห็นพ้องกันในการสร้างความสามารถในทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตรในแผนและรายการของเขา เมื่อเข้าที่ ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ที่อยู่ภายใต้ระบบพหุภาคี ภาคีสมาชิกตกลงที่จะให้ลำดับความสำคัญแก่ () การสร้าง และ/หรือ การทำให้เข้มแข็งขึ้นซึ่งรายการสำหรรับการศึกษาและการฝึกอบรมในทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร () การพัฒนา และการสร้างความมั่นคงในสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร โดยเฉพาะใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ และ () ดำเนินการด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง และหากเป็นไปได้ใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ โดยความร่วมมือกับสถาบันของประเทศนั้นๆ และพัฒนาความสามารถสำหรับการวิจัยในสาขาที่พวกเขามีความจำเป็นนั้น

(D.)
การแบ่งปันด้านการเงิน และผลประโยชน์อื่นด้านการพาณิชย์

( ภาคีสมาชิกตกลง ภายใต้ระบบพหุภาคี ที่จะใช้มาตรการเพื่อให้บรรลุถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผ่านทางความเกี่ยวพันกับภาคเอกชนและภาครัฐในกิจกรรมที่ระบุภายใต้มาตรานี้ ผ่านทางการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ รวมทั้งกับภาคเอกชนใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ในการพัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยี

 

( ภาคีสมาชิกตกลงว่าข้อตกลงถ่ายโอนวัสดุมาตรฐานที่อ้างถึงในมาตรา ๑๒.๔ จะรวมถึงข้อกำหนดว่าผู้รับที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็น ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร และที่รวมเข้าไว้ซึ่งวัสดุที่ได้มาจากระบบพหุภาคี จะจ่ายเข้าสู่กลไกที่อ้างถึงในมาตรา ๑๙.(เอฟ)ซึ่งการแบ่งปันที่เท่าเทียมกันในผลประโยชน์ที่เกิดจากพาณิชยกรรมในผลิตภัณฑ์นั้น ยกเว้นเมื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีไว้โดยไม่มีข้อจำกัดต่อบุคคลอื่นในอันที่จะทำการวิจัยและการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป ในกรณีดังกล่าวผู้รับซึ่งประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จะได้รับการสนับสนุนให้ทำการชำระผลประโยชน์นั้น

         

          สภาการปกครองจะในการประชุมครั้งแรก กำหนดระดับ รูปแบบ และธรรมเนียมในการชำระผลประโยชน์ โดยสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติในทางพาณิชยกรรม สภาการปกครองอาจจะตัดสินใจที่จะสร้างระดับการชำระผลประโยชน์ที่แตกต่างกันสำหรับประเทภของผู้รับที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในผลิตภัณฑ์นั้นที่ต่างกัน สภาการปกครองอาจจะตัดสินใจอีกด้วยในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องให้การยกเว้นการชำระผลประโยชน์นั้นแก่เกษตรกรรายย่อยใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สภาการปกครองอาจจะในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พิจารณาระดับการชำระผลประโยชน์ โดยมุมมองที่จะบรรลุถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน และอาจจะประเมินอีกด้วย ภายในระยะเวลาห้าปีนับจากวันทีสนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้ ว่าข้อกำหนดการชำระผลประโยชน์ที่ต้องดำเนินการใน เอ็มทีเอ จะใช้กับกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ได้มีไว้โดยไม่มีข้อจำกัดต่อบุคคลอื่นในอันที่จะทำการวิจัยและการปรับปรุงพันธุ์ต่อไปอีกด้วย

 

๑๓.๓  ภาคีสมาชิกตกลงว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ที่ได้แบ่งปันกันภายใต้ระบบพหุภาคี ควรจะผ่านในชั้นต้น โดยทางตรงและทางอ้อม ไปยังเกษตรกรในทุกประเทศ โดยเฉพาะใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ที่ได้อนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร

 

๑๓.๔  สภาการปกครองจะในการประชุมครั้งแรก พิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการให้การช่วยเหลือพิเศษภายใต้กลยุทธ์การให้ทุนที่ได้ตกลงกันสร้างไว้ภายใต้มาตรา ๑๘ เพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งการช่วยเหลือให้เกิดความหลากหลายของ ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ใน ร ของเขาเป็นสิ่งที่เห็นความสำคัญชัดเจน และ/หรือ เป็นผู้ที่มีความจำเป็น เป็นพิเศษ

๑๓.๕  ภาคีสมาชิกรับรองว่าความสามารถในการดำเนินการอย่างเต็มที่ซึ่งแผนการดำเนินงานทั่วโลก (Global Plan of Action) โดยเฉพาะใน ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ จะขึ้นอยู่อย่างมากกับการดำเนินการที่มีประสิทธิผลตามมาตรานี้ และตามกลยุทธ์การให้ทุนตามที่เปิดช่องให้ในมาตร ๑๘

๑๓.   ภาคีสมาชิกจะพิจารณารูปแบบของกลยุทธ์การช่วยเหลือในการแบ่งปันผลประโยชน์โดยสมัครใจ โดยที่อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food Processing Industries) ที่ได้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร จะช่วยเหลือระบบพหุภาคี