สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและเกษตร

International Treaty

On Plant Genetic Resources for Food and Agriculture
 

< กลับหน้าหลัก

ส่วนที่ ๗ บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน

 มาตรา ๑๙ สภาการปกครอง

            ๑๙.. สภาการปกครองแห่งสนธิสัญญานี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ณ ที่นี้ประกอบไปด้วยภาคีสมาชิกทั้งหมด

           ๑๙.. การตัดสินในทั้งหมดของสภาการปกครองจะกระทำโดยคะแนนเสียงเอกฉันท์ (consensus) เว้นแต่โดยคะแนนเสียงเอกฉันท์ได้บรรลุถึงวิธีการอื่นในการให้ได้มาซึ่งการตัดสินใจบนมาตรการที่แน่นอนเว้นแต่ว่าคะแนนเสียงเอกฉันท์จะถือเป็นข้อกำหนดเสมอไปในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา 23 และ 24

          ๑๙.. หน้าที่ของสภาการปกครองจะได้รับการส่งเสริมเพื่อการดำเนินการเต็มรูปแบบแห่งสนธิสัญญานี้โดยรักษาไว้ซึ่งมุมมองแห่งวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา และโดยเฉพาะเพื่อ

 (A.)      เปิดช่องให้ทิศทางและการชี้แนะด้านนโยบายเพื่อเฝ้าระวัง รับเอาคำแนะนำนั้นตามความจำเป็นเพื่อการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้ และโดยเฉพาะเพื่อการปฏิบัติการตามระบบพหุภาคี

 (B.)          รับเอาแผนและรายการเพื่อการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้

 (C.)      รับเอาในการประชุมครั้งแรก และพิจารณาเป็นระยะ ๆ ซึ่งกลยุทธ์การให้ทุนเพื่อการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้ โดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา ๑๘
(D.)
         รับเอางบประมาณของสนธิสัญญานี้

 (E.)       พิจารณาและจัดตั้งภายใต้ความมีอยู่ของกองทุนที่จำเป็น เช่น องค์กรสาขา (subsidiary dodies) ที่อาจจะมีความจำเป็น และอำนาจหน้าที่  และองค์ประกอบขององค์การตามลำดับ

 (F.)       จัดตั้ง ตามความจำเป็น กลไกที่เหมาะสม เช่น บัญชีเงินฝาก (Trust Account) เพื่อรับเอา และใช้ประโยชน์ซึ่งแหล่งเงินทุนที่จะเพิ่มพูนขึ้นแก่กลไกนั้นเพื่อความประสงค์ในการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้

 (G.)      สร้างและรักษาความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ และองค์การสนธิสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโดยเฉพาะสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในเรื่องที่ครอบคลุมโดยสนธิสัญญานี้ รวมถึงการมีส่วนร่วมของพวกเขาในกลยุทธ์การให้ทุน

 (H.)         พิจารณาและรับเอา ตามความต้องการ การแก้ไขซึ่งสนธิสัญญานี้ โดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา ๒๓

 (I.)  พิจารณาและรับเอา ตามความต้องการ การแก้ไขซึ่งภาคผนวกแห่งสนธิสัญญานี้โดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา ๒๔

 (J.) พิจารณารูปแบบของกลยุทธ์ที่จะสนับสนุนการช่วยเหลือโดยสมัครใจ โดยเฉพาะ โดยอ้างถึงมาตรา ๑๓ และ ๑๔

 (K.)         ปฏิบัติหน้าที่อื่นเมื่อมีความจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญานี้

 (L.)       จดคำตัดสินที่เกี่ยวข้องของสมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การระหว่างประเทศ และองค์การสนธิสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 (M.)
      แจ้งให้ทราบ ตามความเหมาะสม แก่สมัชชาภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรสนธิสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการตามสนธิสัญญานี้

 (N.)         อนุมัติเกณฑ์ของข้อตกลงกับ ไอเออาร์ซี และสถาบันอื่นภายใต้มาตรา ๑๕ และพิจารณาและแก้ไข เอ็มทีเอ ในมาตรา ๑๕

 

๑๙.. ภายใต้มาตรา ๑๙.๖ แต่ละภาคีสมาชิกจะออกเสียงได้หนึ่งเสียง และอาจจะมีผู้แทนในการประชุมของสภาการปกครองเป็นผู้แทนหนึ่งคนซึ่งอาจจะมาพร้อมกับผู้แทนสำรอง และกับผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา ผู้แทนสำรอง ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาอาจจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการประชุมของสภาการปกครองแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง เว้นแต่ในกรณีที่เขาได้รับมอบอำนาจให้ทำหน้าที่แทนผู้แทน

        ๑๙.๕ องค์การสหประชาชาติ องค์กรชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ และสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมไปถึงรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกของสนธิสัญญานี้ อาจจะมีผู้แทนเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมของสภาการปกครอง องค์กรหรือสำนักงานอื่น ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาล หรือไม่ใช่ของรัฐบาล ที่มีคุณวุฒิในด้านที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่ง ทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร ซี่งได้แจ้งให้ทราบต่อเลขาธิการว่าตนปรารถนาจะมีผู้แทนเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมของสภาการปกครอง อาจจะได้รับสิทธิให้เข้า เว้นแต่ภาคีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งในสามของสมาชิกที่อยู่ในที่นั้นคัดค้าน การใช้สิทธิเข้า และการมีส่วนร่วมของผู้สังเกตการณ์จะอยู่ภายใต้กฏเกี่ยวกับระเบียบที่รับเอาโดยสภาการปกครอง

        ๑๙.. องค์การสมาชิกของ เอฟเอโอ ที่เป็นภาคีสมาชิกและรัฐสมาชิกขององค์การสมาชิกที่เป็นภาคีสมาชิกจะใช้สิทธิความเป็นสมาชิก และทำให้บรรลุซึ่งพันธกรณีในความเป็นสมาชิกของเขาโดยสอดคล้อง โดยอนุโลม กับธรรมนูญ และกฎทั่วไปของ เอฟเอโอ

      ๑๙.. สภาการปกครองจะรับเอาและแก้ไข ตามความต้องการ กฎเกี่ยวกับระเบียบ และกฎเกี่ยวกับการเงินของตนซึ่งจะไม่ขัดกับสนธิสัญญานี้

      ๑๙.. การปรากฏตัวของบรรดาผู้แทนที่อยู่ในที่ประชุมที่ถือเป็นเสียงส่วนใหญ่ของสภาการปกครองจะถือเป็นความจำเป็นในการประกอบเป็นองค์ประชุมในการประชุมใดๆ ของสภาการปกครอง

       ๑๙.. สภาการปกครองจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญอย่างน้อยทุกสองปีครั้ง การประชุมเหล่านี้ควร เท่าที่จะเป็นไปได้ มีการจัดขึ้นควบคู่ (back to back) กับการประชุมสมัยสามัญของคณะกรรมาธิการด้านทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและการเกษตร

      ๑๙.๑๐. การประชุมสมัยวิสามัญของสภาการปกครองจะมีการจัดขึ้นในเวลาอื่นใดตามที่เห็นสมควรว่ามีความจำเป็นโดยสภาการปกครอง หรือโดยคำร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาคีสมาชิกใดๆ หากว่าคำร้องขอนี้ได้รับการสนับสนุนโดยภาคีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งในสาม

       ๑๙.๑๑. สภาการปกครองจะเลือกประธาน และรองประธาน (ซึ่งรวมกันเรียกว่า “สำนัก” ) โดยสอดคล้องกับกฎเกี่ยวกับระเบียบของตน

มาตรา ๒๐ เลขาธิการ

           ๒๐.. เลขาธิการของสภาการปกครองจะได้รับการแต่งตั้งโดยประธานของเอฟเอโอ โดยการอนุมัติของสภาการปกครอง เลขาธิการจะได้รับการช่วยเหลือโดยคณะทำงานตามความต้องการ

           ๒๐.. เลขาธิการจะปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้

 (A.)      จัดเตรียมและเปิดชิ่งให้การสนับสนุนในด้านการดำเนินงานสำหรับการประชุมของสภาการปกครอง และสำหรับองค์กรสาขาอื่นๆ ที่อาจจะได้รับการจัดตั้ง

 (B.)      ช่วยเหลือสภาการปกครองในการทำงานตามหน้าที่ รวมถึงการปฏิบัติการตามภารกิจเฉพาะที่สภาการปกครองตัดสินใจมอบหมายให้

 (C.)      รายงานถึงกิจกรรมของตนต่อสภาการปกครอง

 ๒๐.. เลขาธิการจะแจ้งไปยังภาคีสมาชิก และประชาชน

 (A.)        คำตัดสินของสภาการปกครองภายในหกวันนับแต่วันที่รับเอา

 (B.)        ข้อสนเทศที่ได้รับจากภาคีสมาชิกโดยสอนคล้องกับบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญานี้

  

๒๐.. เลขาธิการจะเปิดช่องให้มีเอกสารในหกภาษาของสหประชาชาติสำหรับการประชุมของสภาการปกครอง

        ๒๐.. เลขาธิการจะร่วมมือกับองค์การปละองค์กรสนธิสัญญาอื่นๆ รวมถึงโดยเฉพาะสำนักเลขาธิการของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของสนธิสัญญานี้

 มาตรา ๒๑ การปฏิบัติตาม

          สภาการปกครองจะในการประชุมครั้งแรก พิจารณาและอนุมัติ ระเบียบและกลไกการปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและมีประสิทธิผลเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญานี้ และเพื่อชี้ประเด็นการไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบและกลไกเหล่านี้จะรวมถึงการเฝ้าระวัง และการอำนวยคำปรึกษา หรือการช่วยเหลือ รวมถึงคำปรึกษาทางกฎหมาย เมื่อมีความจำเป็น โดยเฉพาะแก่ ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงการปรับตัวทางเศรษฐกิจ

 

มาตรา ๒๒ การระงับข้อพิพาท

          ๒๒.. ในกรณีที่มีการพิพาทกันระหว่างภาคีสมาชิกเกี่ยวกับการตีความหรือการใช้สนธิสัญญานี้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องจะแสวงหาข้อยุติโดยการเจรจากัน

 

          ๒๒.. หากคู่กรณีที่เกี่ยวข้องไม่สามารถตกลงกันได้โดยการเจรจา พวกเขาอาจจะแสวงหาการไกล่เกลี่ย หรือร้องขอทำการปรองดองโดย บุคคลที่สาม

 

          ๒๒.๓  เมื่อให้สัตยาบัน  ยอมรับ  เห็นพ้อง  หรือเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญานี้  หรือในเวลาใดก็ตามภายหลังจากนั้น  ภาคีสมาชิกอาจจะประกาศต่อที่เก็บรักษา (Depositary)  ว่าในข้อพิพาทที่ไม่อาจยุดติได้โดยสอดคล้องกับมาตรา  ๒๒.๑  และ  ๒๒.๒  ข้างต้น  เขาจะยอมรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสองสิ่งต่อไปนี้เป็นวิธีการในการระงับข้อพิพาทโดยถือเป็นข้อบังคับ

(A.)
         อนุญาโตตุลาการโดยสอนคล้องกับระเบียบที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ ของภาคผนวก ๒ ของสนธิสัญญานี้
(B.)
          ยื่นข้อพิพาทต่อศาลโลก (International Court of Justice)

 

๒๒.. หากคู่กรณีในข้อพิพาทไม่ได้ โดยสอนคล้องกับมาตรา ๒๒.. ข้างต้น ยอมรับระเบียบเดียวกัน หรือระเบียบใด ๆ ข้อพิพาทนั้นจะถูกยืนต่อการสมานไมตรี (concillation) โดยสอดคล้องกับส่วนที่ ๒ ของภาคผนวก ๒ ของสนธิสัญญานี้ เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

 

มาตรา ๒๓ การแก้ไขสนธิสัญญา

          ๒๓.. การแก้ไขสนธิสัญญานี้อาจถูกเสนอโดยภาคีสมาชิกใดๆ ก็ได้

         ๒๓.. การแก้ไขสนธิสัญญานี้จะถูกรับเอา ณ การประชุมสภาการปกครอง ถ้อยคำของการเสนอแก้ไขจะได้รับการแจ้งต่อภาคีสมาชิกโดยเลขาธิการภายในหกเดือนก่อนการประชุมที่ได้เสนอให้มีการรับเอานั้น

          ๒๓.. การแก้ไขทั้งหลายต่อสนธิสัญญานี้จะทำได้ก็แต่โดยเสียงเอกฉันท์ของภาคีสมาชิกที่อยู่ในที่ประชุมของสภาการปกครอง

         ๒๓.. การแก้ไขทั้งหลายที่ถูกรับเอาโดยสภาการปกครองจะมีผลบังคับใช้ต่อภาคีสมาชิกที่ได้ให้สัตยาบันยอมรับ หรือเห็นพ้อง ณ วันที่เก้าสิบภายหลังจาการนำส่งสารแห่งการให้สัตยาบันการยอมรับหรือการเห็นพ้อง โดยภาคีสมาชิกสองในสาม ภายหลังจากนั้นการแก้ไขจะมีผลบังคับใช้ต่อภาคีสมาชิกอื่นใด ณ วันที่เก้าสิบภายหลังจากที่ภาคีสมาชิกนั้นได้นำส่งสารแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ หรือการเห็นพ้องต่อการแก้ไขนั้น
 

 มาตรา ๒๔ ภาคผนวก

          ๒๔.. ภาคผนวกของสนธิสัญญานี้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญานี้ และการอ้างถึงสนธิสัญญานี้จะเท่ากับเป็นการอ้างถึงภาคผนวกใดๆ ด้วย

          ๒๔.. บทบัญญัติของมาตรา ๒๓ เกี่ยวกับการแก้ไขสนธิสัญญานี้จะนำมาใช้กับการแก้ไขภาคผนวกด้วย
 

 มาตรา ๒๕ การลงนาม

          สนธิสัญญานี้จะเปิดให้มีการลงนามที่เอฟเอโอ ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๐๐๑ ถึง วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๐๐๒ โดยภาคีเองเอฟเอโอ และรัฐใดๆ ที่มิได้เป็นภาคีของเอฟเอโอ แต่เป็นภาคีขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
 

 มาตรา ๒๖ การให้สัตยาบัน การยอมรับ หรือการเห็นพ้อง

          สนธิสัญญานี้จะอยู่ในบังคับของการให้สัตยาบัน การยอมรับ หรือการเห็นพ้อง ของภาคี และผู้ไม่ใช่ภาคีของเอฟเอโอ ที่อ้างถึงมาตรา ๒๕ สารแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ หรือการเห็นพ้องจะถูกนำส่งไปยังที่เก็บรักษา

 

มาตรา ๒๗ การเข้าเป็นภาคี (ภาคียานุวัติ)

          สนธิสัญญานี้จะเปิดให้มีการเข้าเป็นภาคีโดยภาคีของเอฟเอโอ และรัฐใด ๆ ที่มิได้เป็นภาคีของเอฟเอโอ  แต่เป็นภาคีขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศนับจากวันที่ที่สนธิสัญญานี้ได้ปิดลงสำหรับการลงนาม สารแห่งการเข้าเป็นภาคี (ภาคียานุวัติสาร) จะถูกนำส่งไปยังที่เก็บรักษา

 

มาตรา ๒๘ การมีผลบังคับใช้

          ๒๘.๑ ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา ๒๙.๒ สนธิสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่เก้าสิบภายหลังจากที่ได้มีการนำส่งสารที่สี่สิบแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ การเห็นพ้อง หรือการเข้าเป็นภาคี (ภาคียานุวัติ) โดยที่อย่างน้อยยี่สิบสารแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ การเห็นพ้อง หรือการเข้าเป็นภาคี (ภาคียานุวัติ) ได้ถูกนำส่งเข้ามาโดยภาคีของเอฟเอโอ

           ๒๘.๒ สำหรับแต่ละภาคีของเอฟเอโอ และรัฐใด ๆ ที่มิใช่ภาคีของเอฟเอโอ แต่เป็นภาคีขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศที่ได้ให้สัตยาบัน ยอมรับ เห็นพ้อง หรือเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญานี้ภายหลังจากการนำส่งสารโดยสอดคล้องกับมาตรา ๒๘.๑ ที่สี่สิบแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับการเป็นพ้อง หรือการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่เก้าสิบภายหลังจากที่ได้มีการนำส่งสารแห่งการให้สัตยาบัน การยอกรับ การเห็นพ้อง หรือการเข้าเป็นภาคีนั้น

 

มาตรา ๒๙ องค์การสมาชิกของเอฟเอโอ

           ๒๙.๑ เมื่อองค์การสมาชิกของเอฟเอโอได้นำส่งสารแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ การเห็นพ้อง หรือการเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญานี้ องค์การสมาชิกดังกล่าวจะโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา ๒๗ (๑๑.) ของธรรมนูญของเอฟเอโด แจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเผยแพร่ความสามารถของตนในปฏิญญาว่าด้วยความสามารถของตนที่ได้ยื่นภายใต้มาตรา ๒. (๑๑.) ของธรรมนูญของเอฟเอโอ ตามความจำเป็นในแง่ของการยอมรับสนธิสัญญานี้ของตน ภาคีสมาชิกใด ๆ ของสนธิสัญญานี้อาจจะ ในเวลาใดก็ตามร้องขององค์การสมาชิกของเอฟเอโอที่เป็นภาคีของสนธิสัญญานี้ให้เปิดช่องให้มีข้อสนเทศซึ่งระหว่างองค์การสมาชิกกับภาคีของตน เป็นความรับผิดชอบในการดำเนินการตามเรื่องเฉพาะใด ๆ ที่ครอบคลุมโดยสนธิสัญญานี้ องค์การสมาชิกจะเปิดช่องให้มีข้องสนเทศนี้ภายในระยะเวลาอันสมควร

           ๒๙.๒ สารแห่งการให้สัตยาบัน การยอมรับ การเห็นพ้อง การเข้าเป็นภาคี หรือการถอนตัวที่นำส่งโดยองค์การสมาชิกของเอฟเอโอจะไม่ถูกนับเป็นส่วนเพิ่มจากที่ได้ถูกนำส่งโดยรัฐภาคีขององค์การดังกล่าว

 

มาตรา ๓๐ การตั้งข้อสงวน

ข้อสงวนไม่อาจมีการตั้งได้ตามสนธิสัญญานี้

 

มาตรา ๓๑ ผู้ไม่ใช่ภาคี

 ภาคีสมาชิกจะสนับสนุนให้ภาคีของเอฟเอโอ หรือรัฐอื่น ๆ ที่มิได้เป็นภาคีสมาชิกของสนธิสัญญานี้ ให้ยอมรับสนธิสัญญานี้

 

มาตรา ๓๒ การถอนตัว

        ๓๒.๑ ภาคีสมาชิกใด ๆ อาจจะ ในเวลาใดก็ตาม นับตั้งแต่สองปีภายหลังจากวันที่สนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้สำหรับตน แจ้งต่อที่เก็บรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการถอนตัวจากสนธิสัญญานี้จองตนที่เก็บรักษาจะแจ้งให้ทราบโดยทันทีต่อภาคีสมาชิกทั้งหลาย

        ๓๒.๒ การถอนตัวจะมีผลในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งนั้น

  

มาตรา ๓๓ การสิ้นสุดลง

          ๓๓.๑ สนธิสัญญานี้จะถือว่าสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ หากและเมื่อ ผลลัพธ์ของการถอนตัวทำให้จำนวนของภาคีสมาชิกน้อยกว่าสี่สิบ เว้นแต่ภาคีสมาชิกที่เหลืออยู่ตกลงโดยเสียงเอกฉันท์สัมบูรณ์ (Unanimously) เป็นอย่างอื่น

          ๓๓.๒ ที่เก็บรักษาจะแจ้งให้ทราบต่อภาคีสมาชิกที่เหลืออยู่เมื่อจำนวนภาคีสมาชิกได้ลดลงจนเหลือสี่สิบ

          ๓๓.๓ ในกรณีของการสิ้นสุดลง การนำส่งสินทรัพย์ต่าง ๆ จะได้ถูกครอบงำ (ดูแล) โดยกฎทางการเงินที่จะได้รับเอาโดยสภาการปกครอง

 

มาตรา ๓๔ ที่เก็บรักษา

           ประธานของเอฟเอโอ จะเป็นที่เก็บรักษาของสนธิสัญญานี้

 

มาตรา ๓๕ เอกสารต้นฉบับ

         เอกสารในภาษาอารบิก จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน ของสนธิสัญญานี้ถือเป็นต้นฉบับเท่าเทียมกัน