พระราชประวัติ (ต่อ)

      พระเมตตาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนาใดๆ สมกับที่รงเป็นอุปนายิกาแห่งสภากาชาดไทย ทรงมีพระทัยเอ็นดูเด็กๆชาวกัมพูชาผู้ลี้ภัยเหล่านั้น ซึ่งมีจำนวนมากที่ปราศจากบิดา มารดา ทรงอุ้มช
เด็กเหล่านั้นอย่างสนิทพระทัย มิได้ทรงรังเกียจในความสกปรกของเสื้อผ้าและโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ลี้ภัยบางรายป่วยด้วยโรคร้ายเกินกว่าที่สถานีกาชาดจะให้การรักษาได้ ก็ทรงพระเมตตารับไปรักษาที่โรงพยาบาลของสภากาชาด ทรงเอาพระทัยใส่ในสุขภาพของชาวกัมพูชาลี้ภัย แม้นเหมือนที่ทรงพระเมตตาต่อชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เด็กๆกำพร้า

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น นองเหนือจากพระราชภาระที่จะต้องโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปในการทรงเยี่ยมราษฎร พระราชภาระในการเป็นองค์ประธานมูลนิธิสายใจไทยฯ และองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยแล้ว ยังทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จนสำเร็จทันสมโภชพระนครในโอกาสครบ ๒๐๐ปีแห่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีผู้จิตศรัทธาโดยเสด็จพระกราชกุศลในการนี้ เป็นมูลค่ากว่า ๒๒๐ ล้านบาท รวมรายการบูรณะกว่า ๖๐ รายการ นอกจากนั้นทรงเป็นองค์ประธานบูรณะบุษบกทรงของพระพุทธมหามณีรตนปฏิมากร ทรงอำนวยการบูรณะตกแต่งพระที่นั่งวิมานเมฆ ในพะราชวังดุสิต เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพะระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในงาน "สองร้อยปีแห่งสายสัมพันธ์" ทรงดูแลการบูรณะพระที่นั่งเวหาสน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน เป็นต้น ทั้งยัทรงมีพระราชภาระในฐานะองค์อุปถัมภ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสมาคมอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือราษฎร เช่น โครงการชลประทานต่างๆ ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงติดตามความเจริญก้าวหน้าของแต่ละโครงการด้วยความสนพระทัย และโดยเฉพาะโครงการส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯแล้ว จะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานคำแนะนำแก่ราษฎรผูฝึกอาชีพด้วยพระองค์เอง

โครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง คือโครงการเกษตรเพื่ออาหารหลางวันของโรงเรียนในชนบท ซึ่งมีพระราชดำริขึ้นเนื่องจากในการโดยเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพบกับปัญหาความยากจนและความทุกข์ยากของประชาชนด้ยพระองค์เอง ทรงพบเยาวชนที่เป็นโรคขาดอาหารและร่างกายอ่อนแอ จึงทรงพระวิตกว่าเยาวชนเหล่านี้ ซึ่งต่อไปจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ จึงทรงริเริ่มโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทดลองดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ ขณะนี้มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประมาณ ๑๗๐ แห่งทั่วประเทศอยู่ในโครงการนี้ โดยทรงได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน นักวิชาการเกษตร และวิทยากรต่างๆ เป็นอย่างดี นอกจากนั้น โครงการนี้ ยังได้รับความสนใจจากหน่วยงาน Agro Action แห่งประเทศเยอรมัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินจำนวนหนึ่งโดยเสด็จพระราชกุศลสนับสนุนโครงการ และติดตามการดำเนินงานของโครงการฆฯเสมอมา และต่อมามีผุ้มีจิตศรัทธาร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พระราชปรีชาสามารถและพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์นั้น ประชาชนชาวไทยทราบทั่วกันดี มหาวิทยาลัยต่างๆ จึงพร้อมใจกันทูลกเล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้

มหาวิทยาลัยมหิดล ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าทรงมีความรู้ความสามารถในวิชาการด้านการสาธารณสุขของประเทศ ทรงสนพระทัยในการแพทย์และสาธารณสุข โดยทรงพยายามสนับสนุนให้ราษฎรมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยด้วย, มหาทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม) เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ทรงเอาพระทัยใส่ในด้านสาธารณกุศล เช่น ทรงบริหารมูลนิธิสายใจไทย และทรงส่งเสริมอาชีพตลอดจนยกระดับความเป็นอยู่ของชาวชนบท, สถาบันเทคโนโลยีพระจอเกล้า ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์สนพระทัยในการประยุกต์วิทยากรสมัยใหม่มาช่วยในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาชนบท และในวิทยาการแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อค้นหาแหล่งน้ำ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาโครงการในพระราชดำริ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่ทรงมีพระราชกรณียกิจทางด้านสังคมสมเคราะห์ ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทูลเกล้าฯถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย เพราะทรงพระปรีชาสามารถเชี่ยวชาญในด้านภาษาไทย ทรงศึกษาทั้งภาษไทยปัจจุบันและสมัยโบราณอย่างแตกฉาน ทั้งยังสนพระทัยศึกษาภาษาไทยท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวรรณกรรมท้องถิ่นทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เกพื่อเป็นการสนับสนุนวิชาการด้านภาษาและวรรณคดีไทยให้เจริญยิ่งขึ้น และสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศไทย ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ เนื่องจากทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการควบคุมในการควบคุมงานปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญต่างๆ ของชาติ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เคยทรงรับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ไปบรรยายวิชาการ ณ สถาบันการศึกษาต่างๆ หลายครั้ง เช่นทรงรับเชิญไปบรรยายวิชาภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทรงเคยรับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษประจำแผนกประวัติศาสตร์ กองวิชากฎหมาย และสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปีการศึกษา ๒๕๒๓ มาแล้ว ต่อมา กระทรวงกลาโหมจึงเลือ่นพระยศทางทหารถวายเป็นพันตรีหญิง นาวาตรีหญิง และนาวาอากาศหญิง ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๓ ปัจจุบัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับราชการเป็นนายทหารประจำการในตำแหน่งอาจารย์ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา

ตลอดเวลาที่ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทั่วประเทศนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงบันทึกข้อมูลต่างๆถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดุจราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงใช้ประกอบพระวิจารณญาณในการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการชลประทานและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึ
ทรงตัดสินพระทัยเข้าร่วมการอบรมวิทยาการสมัยใหม่ด้านการศึกษาข้อมูลระยะไกล ที่ศูนย์ศึกษาข้อมูลระยะไกล(ASIAN INSTITUTE OF TECHNOLOGY CENTER ) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (ASIAN INSTITUTE OF TECHNOLOGY) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สถาบัน เอ.ไอ.ที (A.I.T.) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗

หลักสูตรที่ทรงศึกษานั้นประกอบไปด้วยภาคทฤษฎี มีการศึกาข้อมูลจากระยะไกลเกี่ยวกับระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบเครื่องมือบันทึกข้อมูล ระบบเครื่องมือวิเคราะห์ขอมูลทฤษฎีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ ภาคปฏิบัติมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาในห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังมีภาคสนาม คือาการออกไปสนามเพื่อรวบรวมข้อมูล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลภาพถ่าย ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และสิ่งที่ปรากฎจริงบนภาคพื้นดิน

วิทยาการที่ทรงศึกษานั้นสมารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านผลผลิตทางการเกษตร การจดการป่าไม้ การบริการแหล่งน้ำการสำรวจทางธรณีวิทยา การหาแหล่งแร่ และน้ำมันปิโตรเลี่ยม การทำแผนที่ การใช้ที่ดิน และการวาแผนงานสำหรับในเมืองและชนบท บระชากรศาสตร์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ตลอดจนงนเพื่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจของพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี นั้นมีมากมาย จนมิอาจบรรยายให้ครบถ้วนได้ แต่ละอย่างล้วนยิ่งใหญ่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติทั้งสิ้น ดูประหนึ่งว่าสตรีธรรมดาผู้ใดก็มิอาจจะรับภาระนี้ไว้ได้ แต่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ทรงรับไว้ด้วยความเต็มพระทัย ด้วยเมตตาอันบริสุทธิ์ที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยและพระคุณธรรมอันล้ำเลิศของพระองค์ ดังนี้ พระงอค์จึงคู่ควรแก่ความเป็น "ปิยชาติ"โดยแท้