ภูมิศาสตร์สวรรค์

ท่านคงไม่เข้าใจเมื่อชื่อเรื่องนี้เป็นภูมิศาสตร์ ที่จริงเป็นเรื่องทางวรรคดี น่าจะเรียกภูมิศิลป์มากกว่า แต่ครั้นข้าพเจ้าจะเรียกอย่างนั้นก็ผิดสังเกตมากไป จึงขอยืมคำภูมิศาสตร์มาเรียกแทน
สวรรค์ เป็นเรื่องของจินตนาการอันใหญ่โตของมนุษย์ เป็นความงดงามอย่างยิ่งยวดในทางวรรคดี สวรรค์เพียบพร้อมไปด้วยของสวยงาม มนุษย์ต้องการสิ่งเหล่านี้ จึงมีการชะลอสวรรค์าสู่มนุษย์โลกไว้ไม่น้อยเลย
ขอหวนไปพูดถึงเทพสักเล็กน้อย เทพนั้นคติพุทธศาสนาถือว่า มีอยู่ ๓ ประการ คือ

     ๑.  สมมุติเทพ แปลว่า เทวดาโดยสมมุติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ อัครมเหสี และราชโอรส

     ๒.  อุปปัตติเทพ แปลว่า เทวดาโดยกำเนิด คือเกิดเองได้แก่ เทวดาที่บังเกิดในสวรรค์ เพราะอำนาจกุศลกรรม เช่น พระอินทร์ และพระพรหม เป็นต้น

     ๓.  วิสุทธิเทพ แปลว่า เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระขีณาสพ ซึ่งพ้นจากกิเลสทั้งปวง

เมื่อพระมหากษัตริย์ได้นามว่าเป็นเทพ ฉะนั้นจึงนิยมชะลอเอาสิ่งต่างๆ ในสรวงสวรรค์ มาตั้งเป็นนามในมนุษย์โลกอยู่เป็นอันมาก
พระนามพระมหากษัตริย์และราชินี ตลอดจนชื่อข้าราชบริพารก็นำมาจากสวรรค์ เช่น พระเจ้าพรหมมหาราช พระนารายณ์มหาราช พระนเรศวรมหาราช พระนางสุนันทาเทวี เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยานนทิเสน เป็นต้น
ชื่อปราสาทราชวังและอุทยานเราก็นำมามิใช่น้อย เช่น พระราชวังดุสิต พระที่นั่งไพชยนต์ วังปรุสกวัน และพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นต้น
พาหนะของพระผู้เป็นเจ้า เราก็นำมาจากสวรรค์ เช่น เอราวัณ และเรือหงส์ เป็นต้น
นครหลวงเราก็นำมาจากสวรรค์ คือ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์
ในที่นี้ของเตือนนักศึกษาวรรณคดีว่า ถ้าเราไม่เข้าใจสวรรค์ เราจะเข้าใจสิ่งที่ชะลอลงมาจากสวรรค์ไม่ได้เลย
ถ้าท่านถามข้าพเจ้าว่าใครเคยไปสวรรค์มาแล้วบ้าง ? ข้าพเจ้าก็จะจอบว่า สวรรค์นั้นมีคนไปกันอยู่เรื่อยๆ ชาดกในพระพุทธศาสนาก็มีกล่าวถึงสวรรค์ เช่น พระเจ้าเนมิราชเคยเสด็จชมสวรรค์ คนที่ไปแล้วนำความมาเล่าเป็นหลักฐาน ก็มี อย่างพระมาลัย เป็นต้น
สวรรค์ของพราหมณ์กับของพุทธแตกต่างกันอยู่เป็นอันมาก นักศึกษาวรรณคดีพึงสังเกตเรื่องที่อ่านเสมอว่า เรื่องใดมีความหมายทางพราหมณ์หรือทางพุทธ
ในทางพราหมณ์นั้น เดิมมีเพียงชั้นเดียวเป็นที่สถิตของเทวะทั่วๆไป ไม่มีแบ่งแยกชั้นกัน แต่ทว่าในตอนต่อมาถือว่ามีเทพอยู่บนสวรรค์พวกหนึ่ง อยู่กลางฟากฟ้าพวกหนึ่ง อยู่บนแผ่นดินพวกหนึ่ง และในยุคหลังเมื่อศาสนาพราหมณ์กลายเป็นศาสนาฮินดูมีเทพเจ้าสำคัญ ๓ องค์ เกิดมีสวรรค์เฉพาะองค์ คือ

     ๑.  ที่สถิตของพระพรหม เรียกว่า พรหมโลก บ้าง สัตยโลก บ้าง

     ๒.  ที่สถิตของพระนารายณ์ เรียกว่า ไวกูณฐ์

     ๓.  ที่สถิตของพระอิศวร หรือ พระศิวะ เรียกว่า ศิวโลก คือ เขาไกรลาส

ตามคติของฮินดู ปัจจุบันแบ่งพรหมโลก และเทวโลก หรือสวรรคโลกออกเป็น ๖ ชั้น คือ
                                     ๑. พรหม   ๒. ตะโป   ๓. ฌาณะ   ๔. มหา   ๕. สวรรค์    ๖. ภูวะ 
แล้วจึงถึงภู คือ มนุษย์โลก พรหมและสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ของพราหมณ์นั้น กล่าวตามข้อเขียนของ ป.โธมาส นักค้นคว้าโบราณคดีอินเดียคนหนึ่ง
ส่วนคติพุทธศาสนานั้น แบ่งสวรรค์ออกไปเป็น ๖ ชั้น เรียกเป็นศัพท์ว่า ฉกามาวจร คือ

                                                                                                                                                                                อ่านต่อ >>>