เบญจเพส
ปัญญาไทยเห็นได้ชัดในเรื่องเบญจเพส
คนไทยเราแต่ไหนแต่ไรมามีปัญญาพิจารณาเรื่องอายของคน
ท่านถือว่าคนเราเมื่อถึงอายุ
๒๕ ปี
ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
เพราะตอนนี้เองที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออาจเจริญหรือเสื่อมก็ได้
ท่านมีคำสำหรับวัยอายุถึง
๒๕ ปีว่าวัยเบญจเพส
คำว่า
เบญจเพส
ตรงกับภาษาบาลีว่า ปญจวีส
ปญจ คือ เบญจะ วีส
แผลงเป็นเพส
เมื่อมาใช้ในภาษาไทยนิยมเขียน
เบญจเพส
ความเชื่อเรื่องเบญจเพสนี้มีพยานหลักฐานอ้างได้ทั้งทางวรรณคดีและทางประวัติศาสตร์
แสดงว่าในชีวิตคนไทยเราถือว่าเรื่องเบญจพเพสเป็นเรื่องต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
จำได้ว่า คุณฉันทิชย์
กระแสสินธุ์ นักโบราณคดีผู้หนึ่งได้เคยอภิปรายว่า
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นเมื่อบรรลุพระชนมายุ
๒๕
พรรษาได้ทรงประกอบพระราชกิจอันสำคัญคือ
ทรงตามพระยาจีนจันตุราชศัตรู
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่องคราวเบญจเพส
ทรงระมัดระวังเป็นพิเศษถึงกับโปรดให้แต่งเรื่องเพื่อเล่นในหนังใหญ่ฉลองเมื่อมีพระชนม์ในเกณฑ์เบญจพเพสนั่นเอง
และเสด็จขึ้นเสวยราชเมื่อวันพฤหัสบดี
แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก พ.ศ.
๒๑๙๙
ว่าถึงในทางวรรณคดีที่เป็นหลักฐาน
พลายแก้วก็เคยได้รับคำทำนายว่า
เมื่อวัยเบญจเพสจะได้รับความลำบากยากเข็ญ
สมภารวัดแคทายเณรแก้วไว้ว่า
"
เมื่ออายุยี่สิบห้าเบญจเพสจะมีเหตุด้วยเคราะห์เข้ามาถึง
ต้องจำโซ่ตรวนเขาตราตรึง
อายุถึงสี่สิบถึงจะได้ดี"
เรื่องก็เป็นจริง
ทุกวันนี้เรากำลังประสบปัญหาวัยรุ่นกันอยู่
ถ้าพิจารณาดูให้ดี
วัยรุ่นก็อยู่ใกล้เคียงกับเพญจเพสนั่นเอง
ในปัจจุบันจะนับวัยรุ่นถึงอายุเท่าใดไม่ทราบแน่
แต่สมัยโบราณท่านแบ่งว่า
ปฐมวัยอยู่ระหว่าง ๒๕ ปี
วัย ๒๕
ปีนี้
คติข้างพราหมณ์ซอยออกไปว่า
๑-๘ เป็นวัยกุมาร
แปลว่าวัยเดิน ๙-๑๖
ว่าเป็นวัยทารกวัย
แปลว่าวัยรุ่น และวัย ๑๖-๒๕
ว่าเป็นวัยมาณพ
คือวัยหนุ่ม
ว่าที่จริงสมัยนี้คนอายุ
๒๕
ดูยังไม่เป็นผู้ใหญ่นัก
ฉะนั้นน่าจะอนุโลมเปรียบเทียบได้ว่าวัยเบญจเพสสมัยโบราณก็คือวัยรุ่นตามความเข้าใจในปัจจุบันนี่เอง
คนวัยเบญจเพสย่อมมีอารณ์ร้อน
วู่วาม ขาดความยั้งคิด
ถ้าทำอะไรทางดีก็เด่นไปเลย
แต่งตรงกันข้ามหากวู่วามไปในทางที่ผิดก็หมายความว่าชีวิตจะไม่ราบรื่น
เมื่อไม่ราบรื่นเสียแต่วัย
๒๕ ปี อันเป็นปฐมวัยแล้ว
ก็เป็นที่หวังได้ยากว่าจะกลับตัวได้ในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัย
อายันโฆษะ เขียนเรื่องเบญจพเพสไว้ในหนังสือ
ดาบศักดิ์เหล็กน้ำพี้
ตอนหนึ่งมีความน่าศึกษาอยู่ไม่น้อย
"
เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ
อยู่เคยได้ยินเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าถ้าผู้ใดเกิดมาเป็นเพศชายอันมีรูปสมบัติตกแต่งมาสู่มนุษยโลกแล้ว
ย่อมจะต้องผ่านโชคและเคราะห์ซึ่งเป็นส่วนดีกับส่วนร้ายอย่างแรงกล้า
ในเมื่ออายุครบ ๒๕
ปีบริบูรณ์นั้นครั้งหนึ่ง
ซึ่งเป็นภาษาของคัมภีร์พฤฒิศาสตร์เรียกว่า
"ต้องเบญจเพส"
ดังได้ชี้แจงของเพส ๕
ไว้ดังนี้คือ
๑ เทวะ
๒ มนุษย์ ๓
เดรัจฉาน ๔ เปรต
๕ อสุรกาย ผี
ใครชะตาตกโชคเทวะ
ท่านว่าผู้นั้นจักได้อิตถมนูญผล
มีลาภและยศเป็นอำนาจวาสนา
มีโชคมนุษย์
ท่านว่าดีชั่วปานกลางแล
ถ้าเคราะห์ตกเดียระฉานทำนายว่า
ผู้นั้นจะเสื่อมศรีอัปภาคย์
ต้องราชภัยไข้ป่วยถึงจองจำลำบาก
หากว่าตกเคราะห์เปรต
อายุจักถึงฆาตชะตาสูญ
มีกายอันวิกลวิการแตกดับด้วยคมอาวุธมีหอก
ดาบ เป็นต้น
มาตรว่าตกเคราะห์อสุรกาย
มีกายอันแกล้วกล้าปราศจากทวารทั้งหกกายสำแดงได้ด้วยอำนาจกรรมเลี้ยง
มีความอดอยากทุพพลภาพต้องเข็ญใจเป็นไพร่
กระฎุมพี ให้เขาช่วงใช้
อนึ่ง อันว่โชค ๒ และเคราห์
๓ นี่
บุรษผู้ต้องเบญจเพสจะเป็นไปในทางที่ดีและชั่วอย่างใด
ท่านให้ทายลักษณะที่เป็นผลพิบัติและภัยพิการแก่เขาผู้นั้นเทอญดังนี้
จะเท็จจริงฉันใดก็ตามแต่
ผู้กล่าวจะนิทัศน์อุทาหรณ์ไว้เถิด"
เรื่องนี่จะเป็นอย่างไรก็ตามทีในฐานะที่เรื่องเบญจเพสเป็นเรื่องของบรรพบุรุษของเรา
เราต้องนับว่าท่านมีปัญญาวิเศษที่คอยกระตุ้นเตือนมิให้คนต้องเบญจเพสเป็นภัย
เพราะท่านเตือนให้คนไม่ประมาทซึ่งก็ตรงตามคติพระพุทธศาสนานั่นเอง
คนวัยเบญจเพสหากเชื่อท่านไว้บ้างก็ย่อมไม่ทำอะไรผลีผลาม
ก็ย่อมปลอดภัยหรือผ่อนหนักเป็นเบาไปได้เหมือนกัน
|