มะเกี๋ยง
พืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สนองพระราชดำริโดย
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง

 

การใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้มะเกี๋ยง

        ไม้มะเกี๋ยงมีปริมาณสารแทรกที่ละลายในแอลกอฮอล์-เบนซิน ร้อยละ 7.68 และ อีเทอร์ (ether) ร้อยละ 3.77 ซึ่งจะเป็นปริมาณของ waxes, fats, resins oils ส่วนสารประกอบพวก polysaccharide เกลืออินทรีย ( organic salts ) ยาง ( gums) ตลอดจนสานแทนนิน ( tannins) และสารให้สี ( pigments) ที่มีอยู่ในเนื้อไม้ พิจารณาได้จากค่าการละลายในน้ำร้อนและน้ำเย็นซึ่งพบ 5.43 และ ร้อยละ 4.14 ตามลำดับ ในขณะที่การเน่าเปื่อยหรือผุของไม้เนื่องจากเห็ดและเชื้อราซึ่งพิจารณาได้จากค่าการละลายในโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 1 ไม้ที่ผุง่ายจะมีค่าการละลายสูง สำหรับไม้มะเกี๋ยงมีค่าการละลายร้อยละ 17.76 จัดเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อเห็ดราได้ไม่ดีนักเช่นเดียวกับ ไม้ยางพารา และไม้แดง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไม้หว้า ซึ่งเป็นไม้ในวงศ์เดียวกัน พบว่า ไม้หว้าผุง่ายกว่าไม้มะเกี๋ยง

ตารางคุณสมบัติทางเคมีของไม้มะเกี๋ยง

ลำดับที่

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11


ลำดับที่

ความชื้น
การละลายในน้ำร้อน
การละลายในน้ำเย็น
การละลายในสารละลายด่าง ( NaOH ร้อยละ 1 )
การละลายในอีเทอร์
การละลายในแอลกอฮอล์-เบนซิน
แพนโทแซน
ลิกนิน
โฮโลเซลลูโลส
เซลลูโลส
เฮมิเซลลูโลส

ร้อยละ

10.24
5.43
4.14
17.76
3.77
7.68
20.37
25.82
78.39
42.17
36.22


          ที่มา: รัชนีวรรณ 2539

    ปริมาณเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในเนื้อไม้มะเกี๋ยง คือ มีร้อยละ 78.39 แยกเป็นเซลลูโลสร้อยละ 36.22 มีปริมาณของลิกนินร้อยละ 25.82 เป็นปริมาณน้อยกว่าไม้หลายๆ ชนิด จึงเหมาะที่จะนำไปทำกระดาษได้ดีพอสมควรและยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้เซลลูโลสเป็นวัตถุดิบ เช่น เรยอน ไฟเบอร์บอร์ด เป็นต้น
    นอกจากนี้ยังพบว่าในเนื้อไม้มะเกี๋ยงมีปริมาณแพนโตเซน (pantosan) ร้อยละ 20.37 ซึ่งจัดว่าสูงมากเมื่อเทียบกับไม้อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน เช่นไม้หว้า (ร้อยละ 14.75) ไม้แดงควน (ร้อยละ 14.92) เมื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของเนื้อไม้มะเกี๋ยงพบว่า ไม้มะเกี๋ยงมีลักษณะเบา และจัดอยู่ในกลุ่มไม้เนื้อแข็งปานกลาง เนื้อไม้มีลักษณะเหลืองนวล มีเสี้ยนผสมค่อนข้างมาก ทำให้ยากในการขัดให้เรียบ แต่เมื่อขัดแล้วจะขึ้นเงาได้ดี ปัจจุบันมีผู้นำไปทำเป็นกล่อง ใส่เครื่องประดับ เครื่องเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ และเก้าอี้  ส่วนเศษไม้ สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้อีก เช่น particle board, fiberboard, hardboard และ medium density fiberboard (MDF)