มะเกี๋ยง
พืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สนองพระราชดำริโดย
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเกี๋ยง

        ผลมะเกี๋ยงนิยมนำมาบริโภคทั้งในรูปผลสด และผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งจากการวิเคราห์คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเกี๋ยง โดยกลุ่มงานคุณค่าทางโภชนาการ และชีวเคมี กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ตัวอย่างผลมะเกี๋ยงสด จำนวน 37 ตัวอย่าง ที่ออกผลในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึงสิงหาคม มาทำการวิเคราห์ องค์ประกอบหลัก แร่ธาตุ วิตามิน และกรดอะมิโน ได้ผลดังตาราง

ตารางที่ 1  ค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบพื้นฐานในผลมะเกี๋ยง


องค์ประกอบ

ความชื้น  (ร้อยละ)
โปรตีน  (ร้อยละ)
ปริมาณไขมัน (ร้อยละ)
ปริมาณเถ้า (ร้อยละ)
ปริมาณกาก (ร้อยละ)
คาร์โบไฮเดรต (ร้อยละ)
ค่าพลังงานทั้งหมด (กิโลแคลอรี)
น้ำตาล (ร้อยละ)

น้ำหนักสด

86.72  +  03.29
0.89  +  0.22
0.31  +  0.10
0.61  +  0.19
3.52  +  1.20
07.95 +   2.05
38.19 +  8.95
1.94   +  1.34

น้ำหนักแห้ง

-
6.64  +  1.29
2.41  +  0.73
4.57  +  0.72
26.32 + 4.01
59.91 +  4.84
279.58 +  37.66
13.92  +  6.81

ที่มา :  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2539)

ตารางที่ 2  ค่าเฉลี่ยแร่ธาตุและโลหะหนักในผลมะเกี๋ยง


ปริมาณแร่ธาตุและโลหะหนัก

แคลเซียม       ( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )
แมกนีเซียม    ( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )
เหล็ก            
( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )
สังกะสี         
( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )
ตะกั่ว           
( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )
ปรอท          
  ( มิลลิกรัม  ต่อ  100  กรัมตัวอย่าง )

น้ำหนักสด

55.19  +  28.26
11.80 + 4.87
0.47  + 0.32
0.28  +  0.16
0.24  +  0.20
0

น้ำหนักแห้ง

408.60 + 153.5
87.32 + 23.66
3.50  +  1.93
2.38  +  1.84
2.38  +  1.84
0

ที่มา :  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2539)

ตารางที่ 3  ค่าเฉลี่ยของวิตามินในผลมะเกี๋ยง


ปริมาณวิตามิน

วิตามินเอ ( เบต้า-แคโรทีน) ( IU  /100  g )
วิตามินบี 2  
วิตามินบี 1
วิตามินอี
วิตามินซี 

น้ำหนักสด

625.36 + 526.43
95.89  +  48.41
47.66  + 24.39
0.9  +  0.0
ไม่พบ

น้ำหนักแห้ง

4574.73  +  3708.25
717.30  + 280.16
357.44  + 154.81
5.85  +  1.28
ไม่พบ

ที่มา :  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2539)

ตารางที่ 4   ค่าเฉลี่ยของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายในผลมะเกี๋ยง
( มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิกรัม )

ปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย

ไอโซ - ลูซีน
ลูซีน
ไลซีน
เมธไธโอนีน
ซีสตีน
ฟินิลอะลานีน
ไทโรซีน
ทรีโอนีน
ทริปโตเฟน
วาลีน
ฮีสติดิน

น้ำหนักสด

26.32  +  7.76
55.10  +  15.98
46.79  +  13.35
8.93  +  2.51
14.29  +  5.25
67.18  +  131.42
14.66  +  4.49
31.51  +  9.16
9.01  +  2.27
35.37  +  10.13
16.65  +  5.14


น้ำหนักแห้ง


198.86  +  31.93
416.95  +  67.71
354.74  +  60.42
67.99  +  12.69
109.37  +  18.12
494.44  +  155.31
108.13  +  27.80
275.50  +  105.48
70.12  +  17.05
267.17  +  40.19
125.51  +  21.18

ที่มา :  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2539)

ตารางที่ 5  ค่าเฉลี่ยของกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายในผลมะเกี๋ยง
( มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม )


ปริมาณกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

กรดแอสปาร์ติค
ซีรีน
กรดกลูตามิค
โปรลีน
ไกลซีน
อะลานีน
ไทโรซีน
อาร์จินีน


น้ำหนักสด

65.46  +  19.35
39.08  +  11.3
87.62  +  25.13
31.95  +  10.37
36.62  +  10.61
43.55  +  12.58
14.65  +  4.48
31.18  +  11.57


น้ำหนักแห้ง

495.72  +  85.62
296.10  +  46.79
665.95  +  130.20
243.64  +  52.46
277.21  +  45.06
328.62  +  51.04
108.13  +  27.80
239.15  +  52.85

ที่มา :  กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2539)

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเกี๋ยงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่ควรทำการศึกษา เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกับหว้า มีผู้ศึกษาหลายท่านพบว่าผลหว้ามีฤทธิ์ในทางยาหลายๆ ด้าน จากการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า มีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ( flavonoids) ซึ่งจัดเป็นสารประกอบฟีนอลิก เช่น resveratrol  จากการศึกษาทางการแพทย์ได้ใช้สารนี้ในการเป็นยาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เนื่องจากสารนี้ช่วยในการกระตุ้นการเพิ่มระดับของ HDL ( High Density Lipoprotein ) ในกระแสเลือด ซึ่ง HDL นี้ จะทำหน้าที่ทำลายไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ในส่วนเปลือกของมะเกี๋ยงพบสารในกลุ่มโพลิฟีนอล ( polyphenols ) และแทนนิน ( tannin ) ซึ่งเป็นสารกลุ่มเดียวกับที่พบในเปลือกและเมล็ดองุ่น  สารนี้ทำหน้าที่จับกับสารกระตุ้นการเกิดมะเร็งที่เป็นอนุมูลอิสระทำให้ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ จากการวิเคราะห์คุณภาพไวน์มะเกี๋ยงที่ผลิตโดยสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง พบว่า ในไวน์มะเกี๋ยงมีสารประกอบฟีนอลิกในรูปกรดแกลลิก ( gallic acid ) 22.32 มิลลิกรัมต่อลิตร คาเทซิน ( catechin)  84.91 มิลลิลิตร