ประดู่บ้าน
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus  Willd.
วงศ์ : LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : Indian rosewood
ชื่ออื่น
 ดู่บ้าน (ภาคเหนือ) ประดู่กิ่งอ่อน ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง) สะโน (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้ต้นผลัดใบสูง 15 – 30 เมตรเรือนยอดรูปกลมหรือรูปร่ม ทึบ ปลายกิ่งจะห้อยย้อยลงเปลือกสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเด็ดทั่วไป เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง ใบประกอบขนนก เป็นช่อเรียงสลับ ช่อยาว 12-20 ซม. ช่อหนึ่งๆ มีใบย่อยที่ติดเยื้องกัน  4 – 10 ใบ ปลายสุดของช่อจะเป็นใบเดี่ยวๆ รูปทรงรี รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบผายกว้าง  แล้วค่อยๆ สอบไปทางปลายใบ เนื้อใบหนา เลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบถี่โค้งไปตามรูปใบ เป็นระเบียบ ขอบใบเรียบ ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ รูปดอกถั่วสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อยาว 20 – 30 เซนติเมตร ผล รูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร
          พบในป่าดิบภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปสามารถปลูกได้ทั่วไป ออกดอก เดือนมีนาคม – เมษายน ดอกจะบานเกือบพร้อมกันและโรยพร้อมกัน
ประโยชน์
: เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง มีเส้นแก่กว่าสีพื้นผ่าน เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง แข็งแรงและทนทาน ไสกบตบแต่งง่ายและชักเงาได้ดี ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือน ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร เครื่องดนตรี  เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า