พลองเหมือด
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Memecylon edule  Roxb.
วงศ์ :  MELASTOMATACEAE
ชื่อสามัญ :
ชื่ออื่น พลองดำ (ประจวบคีรีขันธ์)   เหมียด (สุรินทร์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้พุ่มกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนแบนหรือเป็นเหลี่ยม กิ่งแก่กลม ใบ เดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปวงรีแกมรูปโล่ แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบกว้าง 2-3 เซนติเมตร ดอก เป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ ดอกในช่อ 1-7 ดอก กลีบดอกหนาสีม่วง ปลายกลีบเป็นกิ่งแหลม ฐานรองดอกรูประฆัง ผลสด รูปทรงกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้ม ขยายพันธุ์ในธรรมชาติจากเมล็ด
          ออกดอกเดือนเมษายน - พฤษภาคม พบในป่าผสมผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง
ประโยชน์
:  ตำรายาพื้นบ้านใช้รากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ประดง (อาการโรคผิวหนังเป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย) ต้มผสมกับแก่นพลับเพลา กำแพงเจ็ดชั้น สบู่ขาว แก่นจำปา แก่นโมกหลวง ต้มดื่มแก้หืด ต้นและใบต้มดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละครั้งหลังอาหาร เช้าเย็น แก้ปัสสาวะขัด