BACK     ชื่อท้องถิ่น     ชื่อวิทยาศาสตร์  :  A   B   C   D   E   F   G   H   I   J   K   L   M   N   O   P   Q   R   S   T   U   V   W   X   Y   Z


 

ชื่อวิทยาศาสตร์ - C

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




 

ว่านเปราะทอง

ชื่อพฤกษศาสตร์: Cornukaempferia aurantiflora  J. Mood & K. Larsen

วงศ์ : ZINGIBERACEAE

ไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้น มีหัวรูปยาวรีใต้ดิน แกนกลางสีเหลือง ใบเดี่ยวรูปแผ่นกลมแกมรูปรีขนาดใหญ่ ออกสลับทะแยงกัน 2-3 ใบ แผ่เหนือพื้นดินเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนสีเขียว มีประเป็นปื้นสีเงินระหว่างเส้นแขนงใบ ด้านล่างสีม่วงเข้ม ดอก 1-3 ดอก ออกเป็นช่อสั้นแทรกขึ้นมาระหว่างใบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยก 3 แฉก เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันลักษณะคล้ายกลีบดอก มีสีส้ม ก้านเกสรสั้น มีจงอยโค้งยาวเหนืออับเรณู


เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : พบเฉพาะในเขตจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และอุดรธานี พบตามพื้นล่างของป่าเต็งรังและป่าละเมาะ โปร่งบนภูเขา ระดับความสูง 500-900 เมตร ออกดอกเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ต้นจะโทรมเดี่ยวแห้งและลงหัวในช่วงฤดูแล้ง

สถานภาพ : พืชถิ่นเดียวและพืชหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็นพรรณไม้สกุลใหม่ของโลกที่มีเพียงชนิดเดียว ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2540