พระราชประวัติ


   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ใน พลเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า "สิริกิติ์" ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร"
     ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์ สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนั้นเป็นระยะแรกที่ประเทศ เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้น พระบิดาของพระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร
     หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ต้องทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่ง เลขานุการเอก ประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา  ส่วนหม่อมหลวงบัว ซึ่งมีครรภ์แก่ยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย จนให้กำเนิดหม่อมราชวงสิริกิติ์ ให้อยู่ในความดูแลของพระยาวงศานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี ผู้เป็นบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว 
     หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างจากพระบิดามารดาตั้งแต่อายุเพียงน้อยนิด บางคราวต้องระหากระเหินไปต่างจังหวัดกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในปีพุทธศักราช 2476  หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับพระนัดดา ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสงขลาด้วย
     ปลายปีพุทธศักราช 2477  หม่อมเจ้านักขัตรมงคลทรงลาออกจากราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ บุตรคนโต และหม่อมราชวงศ์บุษบา บุตรีคนเล็กผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกา แล้วกลับมารับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์บุตรคนรอง กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จากหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยู่รวมกันที่ตำหนัก ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
     หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด ในพุทธศักราช 2479 แต่เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพา ลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อยๆ ทำให้การเดินทางไม่สะดวกและปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ ถนนสามเสน เมือ่พุทธศักราช 2483 ในชั้นประถมและมัธยม เพราะอยู่ใกล้บ้านในระยะที่พอจะดินไปโรเรียน เองได้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เริ่มเรียนเปียโนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ และเวลาต่อมาได้ตั้งใจที่จะเป็นนักเรียนเปียโน ผู้มีชื่อเสียง

     หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาของสงครามโลกมา เช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้บุตรและบุตรี รู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และสงครามก็ทำให้ผู้คนต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกัน ในยามทุกข์ยาก สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีความเมตตาต่อผู้อื่น และรักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย
     หลังสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นคือ นายควง อภัยวงศื ได้แต่งตั้งให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เป็นรัฐทูตวิสามัญ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล จึงทรงพาครอบงครัวทั้งหมดไปด้วย ในกลางปีพุทธศักราช 2489 ขณะนั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 ของโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์ แล้ว
     ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ แต่อยู่ที่อังกฤษไม่ได้นาน หม่อมเจ้านักขตรมงคล ก็ทรงย้ายไปประเทศเดนมาร์ก และประเทศฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ยังคงตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้น เพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียง ของกรุงปารีส
     พุทธศักราช 2491 ขณะที่หม่อมเข้านักขัตรมงคลและครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร โรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาท  และต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสอง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และหม่อมราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมพระอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนี ได้รับสั่งขอให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อ ที่เมืองโลซานน์ ในโรงเรียนประจำชื่อโรงเรียน Rainte Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์
     ต่อมาอีก 1 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และประกอบพระราชพิธีหมั้นอย่างเงียบๆ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2492 ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดาทรงหมั้น สมเด็จพระราชชนนีเป็นพระธำมรงค์หมั้น  แล้วคงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนเสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามเสด็จกลับมาถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานัทนมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2493
     ในวันที่ 28  เมษายน พุทธศักราช 2493 มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสา



ที่มา: หนังสืออุเทศ กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา เรื่อง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ศาสนา และสาธารณสุข
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2538)

   BACK        HOME       NEXT