หน้าหลัก                                                                                                                              

 




































 
  • ลักษณะทางกายภาพ ของธรรมชาติเกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่นลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างของหินรวมไปถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก สิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการเกิดดิน และกระบวนการทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งของสัตว์ และพืชพรรณ ตลอดจนกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทความนี้ ในตอนต้อนจะกล่าวถึงพื้นฐานสำคัญเป็นหลักในการเกิดดินที่เริ่มจากการผุพังตามธรรมชาติของหิน กระบวนการทางชีวภาพที่เกิดต่อเนื่องตามกันมาและเกื้อกูลให้เกิดดินมากขึ้นไปอีก ในส่วนท้ายจะกล่าวถึงอนุภาคของดินที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในระบบป่าชายเลน และภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพของธรรมชาติ (ภูมิศาสตร์) และต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงเช่นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ดังหัวข้อต่อไปนี้
    1.  กระบวนการเกิดดินจากหิน
    2.  กระบวนการผุพังตามธรรมชาติของหิน
    3.  กระบวนการทางชีวภาพที่เอื้อต่อการเกิดดิน
    4.  ลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อการเกิดพืชพรรณ และชีวิต
    5.  อนุภาคของดินเอื้อประโยชน์ยิ่งใหญ่ต่อระบบนิเวศป่าชายเลน
    6.  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกต่อกระบวนการทางชีวภาพ

  •  1. กระบวนการเกิดดิน
              ในทางปฐพีวิทยา (การศึกษาเกี่ยวกับดิน) กล่าวว่าดินเกิดจากกระบวนการสร้างดินจากวัตถุต้นกำเนิด และวัตถุต้นกำเนิดนั้นมี 2 อย่าง  อย่างแรกเกิดจากหินโดยตรง  (เหมือนกับขึ้นไปบนเขาซึ่งมีหินอยู่ แต่ก็พบว่าพื้นผิวของหินมีดินปกคลุมอยู่ทำให้เกิดต้นไม้)  อย่างที่สองคือเกิดจากตะกอนหรือเศษวัสดุที่ถูกพาเคลื่อนย้ายมา โดยกระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น แม่น้ำลำธารพัดพาตะกอนมาทับถม ทำให้เกิดที่ลาดเชิงเขา ที่ราบริมแม่น้ำ  หรือที่ราบต่ำบริเวณปากแม่น้ำ เป็นต้น การะบวนการสร้างดินก็เกิดจากตะกอนที่ถูกพัดพามาทิ้งไว้เหล่านั้น คลื่นหรือลมก็สามารถพาตะกอนมาทิ้งไว้ได้
              ถ้าหากมีคำถามว่าแล้วตะกอนเหล่านั้นมาจากไหน คำตอบคงหาไม่ยาก ตะกอนเหล่านั้นมาจากต้นน้ำ ซึ่งบริเวณต้นน้ำก็ต้องเป็นภูเขามีหินนั่นเอง ดังนั้นต้นกำเนิดของวัสดุสร้างดินก็คงไม่พ้นหินที่ถูกผุพังแตกหักไปดังภาพ 1 และ 2
     


    ภาพ 1





     

        
    ภาพ 2

     

              กระบวนการทางธรณีวิทยาที่นำพาเคลื่อนย้ายตะกอนไปมีหลายอย่าง เช่น แม่น้ำ ลำธาร คลื่น กระแสน้ำ น้ำขึ้น น้ำลง ลม ธารน้ำแข็ง เป็นต้น

  •  2. กระบวนการผุพังตามธรรมชาติ  (weathering) ของหิน
              กระบวนการผุพังตามธรรมชาติมีผลโดยตรงทำให้เกิดดิน จริงๆ แล้วกระบวนการผุพังตามธรรมชาติมีอยู่ 2 แบบ คือ ทางกายภาพ (
    Physical Weathering) และทางเคมี (Chemical Weathering) อย่างแรกนั้นเป็นการแตกหักผุพังของหินจากบางสิ่งบางอย่างโดยตรง เช่น พืชชอนรากเข้าไปทำให้เกิดหินแยกอออกหรือการเกิดการแข็งตัวของน้ำบนผิวดิน หรือน้ำค้างแข็งดันให้หินแตกอย่างแม่คะนิ้ง หรือเหมยขาบ (Frost Action) แต่กระบวนการผุพังทางกายภาพนี้ทำให้เกิดดินได้น้อย

 

หน้าหลัก