ทฤษฏีแผ่นเปลือกโลก
ได้จำลองแผ่นเปลือกโลกคล้ายกับเปลือกไข่ที่ร้าว โดยแยกเป็นแผ่นๆ ซึ่งด้านล่างของแผ่นคือหินเหลวใต้พิภพ หากเปรียบเทียบสัดส่วนความหนาของผิวเปลือกโลก (70-250 กิโลเมตร ) กับขนาดของโลกแล้ว จะเห็นได้ว่าผิวเปลือกโลกบางยิ่งกว่าเปลือกไข่ จากการบันทึกประวัติปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถประมาณการแบ่งของแผ่นเปลือกโลกได้เป็น 15 แผ่น ได้แก่

  1. แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate)

  2. แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate)

  3. แผ่นอเมริกาเหนือ  (North American Plate)

  4. แผ่นสโกเชีย (Scotia Plate)

  5. แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate)

  6. แผ่นโคโคส (Cocos Plate)

  7. แผ่นอินเดีย (Indian Plate)

  8. แผ่นอาหรับ (Arabian Plate)

  9. แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate)

  10. แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate)

  11. แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate)

  12. แผ่นแอฟริกา (African Plate)

  13. แผ่นนัซกา (Nazca Plate)

  14. แผ่นแคริบเบียน (Caribbeaa Plate)

  15. แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate)

 
 




Ring of Fire  
คือแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะอยู่รอบชายฝั่งของประเทศต่างๆ ในคาบสมุทรแปซิฟิก และมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ


 

   
 
 
ภาพขยาย เพื่ออธิบายลักษณะของแผ่นเปลือกโลกชนิดต่างๆ