วัยสูงอายุ
คนชรา
"คนชรา..."
"คนแก่..."
"คนสูงอายุ..."
ครับ...ทำไมคนจำนวนมากถึงกล่าวคำเหล่านี้นักหนา ทั้งๆ
ที่ตัวเองจะต้องพบกับคำดังกล่าวไม่วันใดก็วันหนึ่งหากไม่รีบด่วนตายเสียก่อนตั้งแต่ยังเด็ก
หรือยังหนุ่มสาว
หลายๆ
คนถามว่าเมื่อไรจึงจะเป็นคนชรา หรือเมื่อไรจึงจะเป็นคนแก่
เพราะบางคนอายุ 50 ปีก็ดูแก่มากแล้ว แต่บางคนอายุ 70
ยังดูเป็นคนหนุ่มคนสาวอยู่เลย
ดังนั้นคำว่าคนแก่หรือคนชราจึงมิได้ขึ้นกับอายุแต่เพียงอย่างเดียว
อย่างที่คนอเมริกันพูดว่า " อายุเป็นเพียงตัวเลข" เท่านั้น
แต่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะขึ้นกับจิตใจของคนๆ
นั้นเป็นหลัก จนบางครั้งเราอาจจะได้ยินคำพูดเล่นๆ กับคนบางคนว่า
"เฒ่าทารก" ก็มี
เพราะแม้ว่าเขาจะมีอายุมากแล้วแต่จิตใจของเขายังเหมือนเด็กเล็กๆ อยู่
ด้วยเหตุนี้จึงไมมีกฏเกณฑ์แน่นอนที่จะบอกชัดลงไปว่าเมื่อไรเราจึงจะเป็นคนชราหรือคนแก่
อย่างไรก็ตามในชีวิตการทำงานของเราทุกคน มีคำๆ
หนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา
และมักใช้เป็นเกณฑ์ว่าคนนั้นแก่แล้วหรือชราแล้ว นั้นก็คือคำว่า
"ปลดเกษียณ" คนที่ถูกปลดเกษียณโดยทั่วๆ
ไปแล้วจะถือว่าคนนั้นแก่แล้วหรือชราแล้ว
สมควรที่จะเลิกทำงานและหยุดพักผ่อนเสียที ซึ่งในบ้านเราโดยทั่วๆ ไปคนที่มีอายุครบ
60 ปี แล้วก็จะถูกปลดเกษียณ แต่ในบางประเทศปลดเกษียณเมื่ออายุ 55 ปี
หรือบางประเทศก็ปลดเกษียณเมื่ออายุ 65 ปี
คนที่ถูกปลดเกษียณแล้วก็มักจะถูกเรียกว่าคนแก่หรือคนชรา หรือคนสูงอายุ
ด้วยเหตุนี้หากจะใช่เกณฑ์การปลดเกษียณเป็นหลัก คนที่มีอายุ 60
ปีก็จะถูกถือว่าเป็นคนแก่หรือคนชราสำหรับบ้านเรา
ดังนั้นใครก็ตามที่มีอายุ
60 ปีขึ้นไปก็มักจะถูกถือว่าเป็นคนชราหรือคนแก่
และก็เป็นที่ยอมรับของสังคมในบ้านเรา
แม้ทางราชการก็ให้สิทธิพิเศษบางอย่างแก่คนที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว
เช่นสิทธิการไม่ต้องมีบัตรประชาชน
สิทธิการได้รับการลดราคาเดินทางโดยทางรถไฟ รวมทั้งสวัสดิการอื่นๆ
ส่วนใครจะยอมรับว่าเป็นคนแก่หรือไม่หลังจากอายุครบ 60
ปีแล้วนั้นก็ขึ้นกับแต่ละบุคคลเป็นหลัก
บางคนแม้จะถูกปลดเกษียณแล้ว แต่ก็ยังไม่หยุดทำงาน
คือยอมให้ปลดแต่ไม่ยอมเกษียณ แต่บางคนก็หยุดทำงานไปเลย
เพราะเห็นว่าถึงเวลาที่จะพักผ่อนได้แล้ว
ทั้งนี้ทั้งนั้นฐานะทางด้านการเงินก็นับว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก
สำหรับการทำงานหรือเลิกทำงานหลังเกษียณแล้ว
ความรู้สึกสูญเสียของคนสูงอายุ
คนที่ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ
จะมีความรู้สึกสุญเสียอะไรหลายๆอย่างในชีวิตของตนที่เคยมีในอดีต
และความรู้สึกดังกล่าวบางครั้งก็มีมาก บางครั้งก็มีน้อย
สุดแต่ว่าจะทำใจได้หรือไม่
ถ้าทำใจไม่ได้ก็จะมีความรู้สึกสูญเสียมาก
และอาจเป็นสาเหตุกระทบกระเทือนกับการดำรงชีวิตในระยะต่อมาด้วย
ความรู้สึกสูญเสียของผู้สูงอายุที่มักจะพบอยู่เสมอโดยเฉพาะในช่วงปลดเกษียณใหม่ๆ
ก็คือ
|