การเกิด (ต่อ)

      
          ค.   พันศรโยธา ผู้เป็นบิดาของนางพิมพิลาไลยทำนายฝันแก่นางศรีประจันผู้ภรรยาว่า

     ได้แหวนประดับลูกจะเป็นหญิง
ด้วยเป็นแหวนของพระพิศณุกรรม์
รูปร่างงามจริงตละแกล้งสรร
จะเป็นช่างใครนั้นไม่ทันเลย

       ในระยะตั้งครรภ์นี้มีคติถืออยู่ว่า ผู้ตั้งครรภ์ต้องทำใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ไม่ทำบาป ไม่ให้อารมณ์เสีย ทั้งนี้ถือว่าจะเป็นผลให้ลูกเกิดมาสวยงาม  และการคลอดลูกก็จะปลอดภัยด้วย  ความปรากฎในกลอนว่า

จะกล่าวถึงทองประศรีมีครรภ์แก่
ผิวพรรณดังสุวรรณมาทาบทา
แก้มทั้งสองข้างดั่งปรางทอง
ผิวเนื้อเป็นนวลควรแลเล็ง
ถือศีลภาวนาเป็นนิตย์
ภาวนาบูชาด้วยดอกบัว
งามแท้เผ้าผมก็สมหน้า
ดวงหน้าดั่งดวงจันทร์เมื่อวันเพ็ง
เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง
ดูปลั่งเปล่งน่าชมพอสมตัว
น้อมจิตนบนิ้วขึ้นเหนือหัว
ไม่กลัวที่จะเป็นอันตราย

       ๓. ในระยะคลอด โดยปกติตั้งครรภ์ครบ ๑๐ เดือน ก็จะมาถึงระยะคลอด น่าสังเกตว่าขุนช้างคลอดยากถึงกับต้องข่ม แต่ขุนแผนคลอดง่าย ไม่ต้องช่วยหรือผิดปกติอย่างไร ส่วนนางศรีประจันกลับคลอดพิมพิลาไลยยากที่สุดถึงกับผีเข้าเจ้าสิงกันทีเดียว
              ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือการตั้งชื่อเด็ก ตามเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น ตั้งชื่อกันโดยถือเวลาตกฟากเป็นสำคัญ และถือเอานิมิตของเหตุการณ์บ้านเมืองเข้ามาประสมด้วย ขอยกกลอนเกี่ยวกับการตั้งชื่อเด็กมาให้ฟังดังนี้

             รายขุนช้าง

     ปู่ย่าตายายสบายใจ
แม่ฝันว่านกตะกรุมคาบช้าง
พาไปให้ถึงในเรือนตน
เมื่อตกฟากฤกษ์พารของหลานชาย
จึงให้นามตามเหตุที่เป็นมา
จะให้ชื่อหลานไว้เป็นมงคล
บินมาแต่ทางพนาสณฑ์
หัวล้านอกขนแต่เกิดมา
ช้างเผือกมาถวายพระพันวษา
หลานรักของข้าชื่อขุนช้าง

      รายพลายแก้ว

     พ่อแม่ปรึกษากับย่ายาย
ฝ่ายตาตะแกเป็นหมอดู
ปีขาลวันอังคารเดือนห้า
กรุงจีนเอาแก้วอันแพรวพราย
ให้ใส่ปลายยอดพระเจดีย์ใหญ่
เรียกวัดพระยาไทยแต่ไรมา
จะให้ชื่อหลานชายอย่างไรปู่
คิดคูณเลขอยู่ให้หลานชาย
ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย
มาถวายพระเจ้ากรุงอยุธยา
สร้างไว้แต่เมื่อครั้งหงสา
ให้ชื่อว่าพลายแก้วผู้แววไว

      รายนางพิมพิลาไลย

     ปู่ย่าตายายมาทำขวัญ
เลี้ยงมาได้ห้าขวบปลาย
ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแม้น
ผมสลวยสวยขำงามเงา
แหวนทองผูกพันเข้าเหลือหลาย
รูปกายงามยิ่งพริ้งเพรา
อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย


            <<< กลับหน้าเดิม