ประเพณีการแต่งงาน
(ต่อ)
ครั้นถึงตอนเช้าวันรุ่งขึ้นมีพิธีให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวตักบาตรร่วมกัน
พระสงฆ์สวดมนต์
เด็กวัดวางบาตรให้ตัก
ความตอนกลอนว่า
ท่านผู้หญิงวันทองร้องเรียกบ่าว
เอาทารพีทองมาสองคัน
พระหมื่นศรีเข้าเรือนเตือนศรีมาลา
ศรีมาลาอายคนล้นประมาณ
นางวันทองร้องเรียกลูกสะใภ้
ทำบุญอย่าสูญเสียศรัทธา |
|
ให้คดข้าวขาวๆ
สักค่อนขัน
ช่วยไปยกกันวางกลางนอกชาน
ออกมาธารณะเสียหน่อยหลาน
แฝงม่านหน้าม่อยไม่ออกมา
แม่แข็งใจไปหน่อยนะแม่หนา
แม่จะเป็นเพื่อนพาเจ้าออกไปเอง |
แล้วก็ถึงเวลาใส่บาตร
คือให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องจับทารพีอันเดียวกัน
เคล็ดมีว่า
เจ้าสาวต้องการเป็นใหญ่ในการเรือน
จึงพยายามจับทารพีตอนบน
ผัวจะได้กลัว
ใส่บาตรเสร็จแล้วเลี้ยงพระ
ถวายของเสร็จแล้วพระกลับ
เป็นอันหมดพิธี
อนึ่งมีศัพท์เกี่ยวกับการแต่งงานที่ใช้ต่างกันอยู่
๓ คำ คือ
๑.
อาวาห์
ฝ่ายหญิงมาอยู่กับฝ่ายชาย
๒.
วิาาห์
ฝ่ายชายไปอยู่กับฝ่ายหญิง
๓.
คนธรรพวิวาห์
ได้เสียกันเองแบบคนธรรพ์
คือผู้ใหญ่มิได้จัดให้
ส่วนศัพท์อื่นๆ
ที่จำเป็นต้องทราบ คือ
๑.
สินสอด
คือเงินที่มอบแก่บิดามารดาหญิงเป็นค่าข้าวค่าน้ำนมที่เลี้ยงหญิงมา
๒.
ขันหมาก
คือขันใส่หมากพลูในพิธีแต่งงานเป็นของคำนับพ่อแม่ฝ่ายหญิง
๓.
สินสมรส
คือทรัพย์สินที่คู่แต่งงานหาได้เมื่อแต่งงานอยู่ด้วยกัน
๔.
สินบริคณห์
คือสินเดิมและสินสมรส
๕.
สินเดิม
คือสินที่ต่างฝ่ายมีอยู่ก่อนแต่งงาน
รวมทั้งทรัพย์ที่ได้มาโดยพินัยกรรมที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมนั้นระบุไว้
<<<
กลับหน้าเดิม
|