พญาปล้องทอง
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthusnutans   (Burm.f.) Lindau
วงศ์ :  ACANTHACEAE

ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องคำ (ลำปาง) พญาปล้องดำ พญาปล้องทอง พญายอ (กลาง) โพะโซ่จาง (กะแหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เสลดพังพอนตัวเมีย (พิษณุโลก)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบ เดี่ยว รูปใบหอก สีเขียวเข้ม ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์
: ทางสมุนไพร ใบสด รสจืด เหม็นเขียว สกัดด้วยเหล้าโรงบรรเทาอาการแพ้อักเสบจากแมลงกัดต่อย บรรเทาอาการแพ้ อักเสบได้ พบว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นสารประกอบฟลาโวนอยด์  นอกจากนั้นใบยังนำตำผสมเหล้าโรงคั้นเอาน้ำ ทารักษาเริม งูสวัด พบว่าสารสกัดของใบพญาปล้องทองหรือที่เรียกกันติดปากว่าพญายอ มีฤทธิ์ทำลายเชื้อไวรัส Herpes simplex type-2 ซึ่งทำให้เกิดเริม และไวรัส Varicella zoster ซึ่งทำให้เกิดงูสวัดและโรคอีสุกอีใส