โมกมัน
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Wrightia arborea  (Dennst.) Mabb.
วงศ์ :  APOCYNACEAE
ชื่อพ้อง : Wrightia tomentosa  (Roxb.) Roem. & Schult.

ชื่อสามัญ :  Darabela, Ivory, Karingi, Lanete
ชื่ออื่น แนแก  มักมัน  มูกน้อย  มูกมัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงสลับแบบตรงข้าม แผ่นใบมีขนนุ่มปกคลุมโดยเฉพาะส่วนด้านใต้ใบ ลักษณะใบเป็นรูปมน ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. โคนและปลายใบสอบเรียว ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานข้างนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอม ดอกออกประมาณเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม ฝักยาวประมาณ 9-30 ซม. ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่ เมล็ด ส่วนปลายมีขนเป็นกระจุกอ่อนนุ่มสีน้ำตาลอ่อน
          การแพร่กระจาย พบได้บริเวณป่าโปร่งและป่าเบญจพรรณแล้ง
ประโยชน์
:  ใช้ไม้ทำตัวหมากรุก เครื่องเขียน ครอบลูกคิด ทำจะเข้ ซอด้วง ซออู้ ทำพานท้ายและรางปืน ด้านสมุนไพร ตำรายาแผนโบราณ เปลือก เป็นยาเจริญอาหาร ทำให้จำเดือนปกติ แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้โรคไต ยางจากต้น แก้บิดมูกเลือด ใบ ขับน้ำเหลือง ดอก เป็นยาระบาย  เนื้อไม้ ขับเลือด ราก รักษาพิษงู