คัดเค้าเครือ
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxyceros horridus  Lour.
วงศ์ :  RUBIACEAE
ชื่อพ้อง :  Randia siamensid  Craib
ชื่ออื่น เขี้ยวกระจับ (ภาคตะวันตกเฉียงใต้) คัดเค้า (ภาคเหนือ ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา) นครราชสีมา คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ) เค็ดเค้า (ภาคเหนือ) จีเค๊าะ พญาท้าวเอว (กาญจนบุรี) หนามลิดเค้า (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อย บริเวณข้อมีหนามโค้งแหลมเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบตรงข้าม รูปใบกลมรีแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-6 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกเชิงหลั่นบริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นถ้วยคล้ายลูกข่างรี ส่วนปลายแยกเป็น 5 หยัก กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อแรกบานสีขาวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เกสรผู้ 5 อัน ติดสลับอยู่ระหว่างกลีบดอก ผลทรงกลมหรือฉ่ำน้ำ
          กระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเซียเขตร้อน ประเทศไทยพบบริเวณป่าดิบชื้นโปร่งบริเวณภาคกลางและภาคเหนือ ออกดอกในช่วงฤดูหนาว ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
ประโยชน์
:  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางเภสัชใช้ส่วนรากแก้ไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน ผล บำรุงโลหิต ขับฟอกโลหิต ระดูเสีย หนามแก้พิษฝีไข้ต่างๆ