หน้า  1   2  

 
               
 

คลื่นแผ่นดินไหวมี 2 ประเภทคือ

  1. คลื่นอัดตัว (compressional wave) หรือคลื่นปฐมภูมิ (primary wave : p-wave) ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากการอัดตัว โดยเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่จะเกิดแรงอัดขึ้น ทำให้อนุภาคของดินถูกอัดเข้าหากันอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาภายในต่อต้านการหดตัว ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ดินขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว ผ่านจุดที่เป็นสภาวะเดิม  และการขยายตัวของอนุภาคดินนี้ก็จะทำให้เกิดแรงอัดในอนุภาคถัดไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องเป็นลูกโซ่และแผ่รัศมีโดยรอบ

  2. คลื่นเฉือน (shear wave) หรือคลื่นทุติยภูมิ (secondary wave: S-Wave) ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปร่างของอนุภาคแบบเฉือน ดังตัวอย่างเช่น เมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ จะเกิดแรงที่ทำให้อนุภาคของดินเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของอนุภาคดินจะก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาภายในต่อต้านการเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่เป็นคลื่นแผ่รัศมีออกโดยรอบ (ที่มา หนังสือสารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ เล่มที่ 28 เรื่องแผ่นดินไหว