หน้า  1   2  

 
 

         แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ
      
เมื่อคราวเกิดแผ่นดินไหวในทะเลซึ่งอยู่ไกลจากชายฝั่งของประเทศนิคารากัว เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 1992 (วัดความรุนแรง หรือ magnitude ระดับ 7.2 ริกเตอร์)  ผู้คนที่นั่นไม่ได้รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนมากนัก ความสั่นสะเทือน (severity of shaking) อยู่ในระดับเพียง 2 หรือ 3 (ตามมาตรวัด ระดับต่ำสุดคือ 1 ถึง ระดับสูงสุดคือ 12) แต่ระยะเวลาราวๆ 20-70 นาที หลังจากแผ่นดินไหว เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศนิคารากัว คลื่นนี้มียอดคลื่นสูงกว่า 4 เมตร (13 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย และมีระดับน้ำหนุนสูงสุดอยู่ที่ 10.7 เมตร (35 ฟุต) คลื่นยักษ์ได้ซัดฝั่งในเวลาที่ไม่มีผู้ใดทันเตรียมตัวไว้ก่อน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก

เมืองเอล ทรานซิโต (El Transito) ประเทศนิคารากัว เมื่อวันที่ 1 กันยายน ปี 1992 คลื่นสึนามิ สูง 9 เมตร ได้เข้าถล่มและทำลายหมู่บ้านจำนวน 1,000 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิต 16 คน บาดเจ็บ 151 คน คลื่นสึนามิลูกแรกที่เข้ามาถล่มนั้นมีขนาดเล็ก ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยุ่ริมชายฝั่งทะเล มีโอกาสหลบหนีจากการเข้าถล่มของคลื่นลูกที่สอง และลูกที่สาม ผู้คนกว่า 40,000 คน ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียบ้าหรืออาชีพ (ภาพโดย Harry yeh จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน)

          คลื่นสึนามิครั้งนั้นเกิดจากแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นขนาดยักษ์ ทั้งนี้ แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิเป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเลที่มีจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ที่บริเวณน้ำตื้นโดยมีการเคลื่อนย้วยตำแหน่งของรอยแตกของเปลือกโลก (fault) เป็นระยะทางหลายเมตร และพื้นผิวของรอยแตกที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวใต้ทะเลจะมีขนาดเล็กกว่าพื้นผิวรอยแตกที่เกิดจากแผ่นดินไหวปกติ แผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีอีกประเภทหนึ่งคือ แผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือน ค่อนข้างช้า และมีการเคลื่อนตัวตามแนวรอยแตกของเปลือกโลกใต้พื้นทะเลช้ากว่ากรณีแผ่นดินไหวปกติ วิธีการเดียวที่จะตอบได้ว่าแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิหรือไม่นั้น  เกิดจากการคำนวณหาค่า seismic moment ซึ่งใช้คลื่นการสั่นสะเทือนที่มีคาบเวลาที่นานมาก  (นานกว่า 50 วินาทีต่อคาบ) คลื่นสึนามิ ครั้งร้ายแรงอีก 2 ครั้งที่เกิดจากแผ่นดินไหว คือที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปี 1994 และที่ประเทศเปรู เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ในปี 1996


จุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (focus) คือจุดหนึ่งของโลก (อาจจะอยู่ใต้ทะเลลึกหรือใต้พิภพ) ที่บริเวณแผ่นดินแยกออกจากกันครั้งแรกและจะเป็นจุดที่คลื่นแผ่นดินไหว (seismic wave) ก่อตัวขึ้น ส่วนจุดศูนย์กลางของผิวโลก (epicenter) คือจุดบนพื้นผิวโลกที่อยู่เหนือจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ระดับความรุนแรง (magnitude) ของแผ่นดินไหว คือค่าลอการิทึม (logarithm) ของความสูง (amtitude) ที่สูงสุดของ คลื่นแผ่นดินไหวลูกหนึ่ง ตามที่วัดได้จากเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (seismometer) ดังนั้นแผ่นดินไหวระดับ 9 มีความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวเป็น 10 เท่าของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวระดับ 8 และเป็น 100 เท่าของแผ่นดินไหวระดับ 7
 


คลื่นสึนามิ : ความสัมพันธ์กับศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว
(SEA SURFACE) = ผิวน้ำทะเล
(SEAFLOOR)  = พื้นทะเล
(FAULT) = รอยแตกของเปลือกโลก







 

หน้า  1   2