** ดาวเทียมธีออส (THEOS)**

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของประเทศไทย

ย้อนกลับ : HOME  

     












































 

ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ก.ค.47

ดาวเทียมธีออส มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทุก 26 วัน มี
กล้องถ่ายภาพที่ใช้ระบบซีซีดี สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก ได้เป็นภาพขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และภาพสเปกตรัม (Multispectral) ที่รายละเอียด 15 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 90 กิโลเมตร มีอายุการใช้งาน 5 ปี
ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่
       
       
แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
       
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
       แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
       แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)
       

       การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)

สถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ดาวเทียมธีออส มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 จากฐานปล่อยดาวเทียม เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน โดยใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่ง และจะเริ่มปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพภายในปี พ.ศ. 2550

Theos เป็นภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี