-2-

1    2    3

 
 

          สัตว์ทะเลส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่วิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกในทะเล เช่น โปรโตซัว ฟองน้ำ ซีเลนเตอเรต หวีวุ้น ครัสตาเชี่ยน หอย หมึก เอคโคเดิร์ม และสัตว์ในไฟลัมย่อยอื่นๆ  ส่วนสัตว์ในทะเลที่มีกระดูกสันหลังที่พบ คือ ปลาชนิดต่างๆ  เต่าทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งล้วนมีบทบาทที่สำคัญต่อระบบนิเวศในทะเล เพราะต่างก็มีการกินกันเป็นทอดๆ เกิดเป็นห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศทางทะลั่นเอง
          สัตว์ทะเลจำแนกตามลักษณะความเป็นอยู่ออกเป็น 3 พวกคือ










 ฝูงปลาในแนวปะการัง
อุทยานแห่งชาติเกาะสิมิลัน

 

       1.  พวกแพลงก์ตอน  (Plankton)   สัตว์พวกนี้มีขนาดเล็กหรือใหญ่ ล่องลายในทะเล  สามารถว่ายน้ำเคลื่อนที่ไปมาเพียงเล็กน้อย โดยมากจะถูกพัดพาไปตามทิศทางของกระแสน้ำและคลื่นลม เช่น โปรโตซัว หวีวุ้น แมงกะพรุน กุ้งเคย และตัวอ่อนของสัตว์ทะเลต่างๆ
        2.  พวกเนคตอน  (Nekton)   เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ทีมองเห็นด้วยตาเปล่า ว่ายน้ำไปมาได้อย่างอิสระด้วยตัวเอง แม้จะต้องว่ายทวนกระแสน้ำหรือคลื่นลม พวกนี้อาศัยตั้งแต่ผิวทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลงและลึกลงไปใต้ท้องทะเลในระดับต่างๆ เช่น หมึกกล้วย ปลาชนิดต่างๆ เต่าทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมนทะเล
        3.  พวกสัตว์หน้าดิน  (Benthos)  คือ สัตว์ทะเลที่อาศัยตามผิวหน้าดินในทะเล แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่ม คือ
             กลุ่มที่ขุดรู (Burrower)  หรือฝังตัวอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนหรือดินทราย เช่น ดอกไม้ทะเลบางชนิด ไส้เดือนทะเล หอย และปูบางชนิด  กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่เกาะนิ่งกับที่ (Sessile) สัตว์หน้าดินประเภทนี้บางชนิดอาจเกาะติดจนเคลื่อนย้ายแหล่งอาศัยไม่ได้เลย เช่น ฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา  เพรียงหิน และหอยบางชนิด  และกลุ่มที่สาม คือ กลุ่มคืบคลานอยู่หน้าดิน (Demersal)  พวกนี้บางครั้งอาจมีการฝังตัวหรือขุดรูอาศัยอยู่ชั่วขณะตามพื้นทะเลด้วย เช่น กุ้ง กั้ง ปู หมึกสาย เอคไคโนเดิร์ม และ ปลาหน้าดินชนิดต่างๆ
          มีคำกล่าวว่า ประเทศใดที่ปราศจากอาณาเขตติดต่อทะเล ประเทศนั้นจะเจริญได้ยา ก การที่ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,815 กิโลเมตร จึงมีโอกาสที่จะนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างมหาศาล  ครั้งหนึ่งเคยมีการตรวจสอบกำลังผลิตตามธรรมชาติของทะเลไทยพบว่า อ่าวไทยนับเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก  แต่ปัจจุบัน แหล่งที่มีกำลังผลิตตามธรรมชาติสูงสุดอยู่ที่บริเวณฝั่งอันดามัน ณ อ่าวพังงา จังหวัดพังงา ทั้งนี้เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่สงบและยังคงมีป่าชายเลนผืนใหญ่ที่สมบูรณ์มาก ซึ่งในปัจจุบัน คือ บริเวณอุทยาแห่งชาติอ่าวพังงา นั่นเอง

 

         อ่านต่อ