สึนามิเดินทางเร็วแค่ไหน ?

หน้า  1   2  

 
    

     การคำนวณระยะเวลาการเดินทางของคลื่นสึนามิเมื่อเกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งของประเทศชิลี เส้นโค้งแต่ละวงแสดงเวลาการเดินทางของคลื่นสึนามิในแต่ละชั่วโมงนับจากเวลาที่แผ่นดินไหว
  จุดศูนย์กลางที่ผิวโลก (Epicenter)
  สถานีวัดน้ำขึ้นน้ำลง (Tide Station)
ระยะเวลาการเดินทางของคลื่นสึนามิในแต่ละชั่วโมง
E (East) = ตะวันออก   W (West) = ตะวันตก
 

 
 

         
         
ในการศึกษาภายหลังเหตุการณ์ จะต้องมีการเก็บตัวเลขของ "ระยะทางเข้าฝั่ง" และ "ระดับน้ำหนุนสูงสุด" เพื่อประเมินความรุนแรงของผลกระทบของคลื่น "ระยะทางเข้าฝั่ง" หมายถึง ระยะทางไกลที่สุด ทางแนวนอนที่คลื่นสึนามิพุ่งลึกเข้าไปในแผ่นดิน "ระดับน้ำหนุนสูงสุด"  หมายถึง ระดับของน้ำสูงสุดเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางขณะเกิดคลื่นสึนามิ ซึ่งสามารถวัดได้จากค่ากึ่งกลางระหว่างค่าบนสุดและล่างสุดของสัญญาณที่ปรากฎบนเครื่องมือวัดระดับน้ำขึ้น้ำลง ( tide quage instrument )
 

 
 

          คลื่นสึนามิเดินทางเร็วแค่ไหน ?
          ในมหาสมุทรซึ่งลึกเกินกว่า 6,000 เมตร คลื่นสึนามิที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ สามารถเดินทางเท่ากับความเร็วของเครื่องบินไอพ่น คือด้วยอัตราความเร็วสูงกว่า 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (500 ไมล์ต่อชั่วโมง) และสามารถเคลื่อนจากด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกถึงอีกด้านหนึ่งในเวลาต่ำกว่าหนึ่งวัน  ยิ่งสึนามิเดินทางรวดเร็วมากแค่ไหน ยิ่งจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลทันทีที่เกิดการก่อตัวของคลื่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายได้ว่าคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนั้นจะเดินทางไปถึงสถานที่ต่างๆ กันในเวลาใดได้ โดยดูจากลักษณะของแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวและลักษณะของพื้นดินใต้ทะเลที่คลื่นเดินทางผ่าน สึนามิจะเดินทางช้าลงเมื่อเข้าเตน้ำตื้น แต่คลื่นจะเริ่มสูงขึ้นอย่างน่ามหัศจรรย์
          สึนามิใหย่ขนาดไหน
?
          ขนาดและความรุนแรงของสึนามิเกิดจากลักษณะต่างๆ ของท้องทะเลและชายฝั่ง แนวปะการัง อ่าว ปากแม่น้ำ สัตว์และพืชใต้ท้องทะเล ความลาดของหาด ตลอดจนระยะทางห่างของคลื่นจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหว สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อความรุนแรงของสึนามิเมื่อซัดเข้าฝั่ง  เมื่อสึนามิซัดฝั่งและโถมตัวเข้าไปในแผ่นดินนั้น ระดับน้ำอาจถูกดันให้พุ่งขึ้นหลายเมตร ในกรณีที่แรงสุดนั้น ระดับน้ำจะขึ้นสูงกว่า 15 เมตร (50 ฟุต) สำหรับสึนามิที่เดินทางมาไกล สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ระดับน้ำอาจมีความสูงเกิน 30 เมตร (100 ฟุต) ทั้งนี้คลื่นลูกแรกอาจไม่ใช่คลื่นลูกใหญ่ที่สุดในบรรดาระลอกคลื่นที่เกิดขึ้นทั้งหมด ชุมชนชายฝั่งแห่งหนึ่งอาจไม่ประสบกับคลื่นที่แรงมากนัก ในขณะที่อีกชุมชนหนึ่งใกล้ๆ กันอาจเผชิญคลื่นใหญ่และรุนแรง น้ำทะเลอาจท่วมเข้าไปได้ไกลถึง 300 เมตร (1,000 ฟุต) หรือไกลกว่านั้นอีก ทำให้พื้นที่นองไปด้วยน้ำและเศษสิ่งปรักหักพังครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง
          สึนามิเกิดขึ้นบ่อยไหม
?
          เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใด  จึงไม่สามารถบอกได้ว่าคลื่นสึนามิจะเกิดขึ้นเมื่อใดเช่นกัน  อย่างไรก็ดี จากการดูประวัติของคลื่นสึนามิในอดีต ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าที่ไหนมีโอกาสเกิดคลื่นสึนามิได้บ้าง การวัดความสูงของคลื่นสึนามิในอดีตจึงมีประโยชน์ต่อการทำนายผลกระทบของคลื่นสึนามิที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งทราบขอบเขตของน้ำท่วมของพื้นที่ชายฝั่งหรือชุมชนใดๆ ในอนาคต การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิในอดีตจะช่วยในการวิเคราะห์ความถี่ของการเกิดคลื่นสึนามิได้ ในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกิดคลื่นสึนามขึ้นในคาบมหาสมุทรแปซิฟิกประมาณ 3-4 ครั้งในทุกๆ ศตวรรษ และส่วนมากเกิดขึ้นที่บริเวณนอกชายฝั่งทะเลของประเทศชิลี

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ปี  1983 เกิดแผ่นดินไหวในทะเลญี่ปุ่น และภายหลังคลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดระลอกคลื่นในระยะสั้นๆ ภาพนี้ถ่าย ณ บริเวณท่าเรือโนชิโร (Noshiro) ณ ประเทศญี่ปุ่น
(ข้อมูลจากรายงานของมหาวิทยาลัยโตไก)

        หน้า  1   2