คลื่นสึนามิจะเดินทางช้าลงในน้ำตื้น
ในขณะที่ความสูงของคลื่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในมหาสมุทรเปิด คลื่นสึนามิมีความสูงเพียงไม่กี่สิบเซนติเมตร
(1 ฟุต) วัดที่ผิวน้ำทะเล
แต่ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระดับน้ำตื้น พลังงานของคลื่นสึนามิจะขยายตัวจากผิวน้ำลงสู่พื้นทะเลที่ลึกที่สุด
และเมื่อคลื่นสึนามิเข้าถล่มบริเวณชายฝั่ง
ความแรงของคลื่นจะถูกบีบอัดด้วยระยะทางที่สั้นและระดับความลึกที่ตื้นขึ้นมา
ทำให้เกิดแรงคลื่นที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง
.................................................................................................................................................
คลื่นสึนามิที่มีผลกระทบทั้งแปซิฟิกและในระดับภูมิภาค
ครั้งสุดท้ายที่สึนามิ ก่อให้เกิดภัยพิบัติมหาศาลทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
เกิดขึ้นในปี 1960 ซึ่งเป็นผลจากแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งประเทศชิลี
เหตุการณ์คราวนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย
และคร่าชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของประเทศชิลี
และแผ่ขยายไปถึงบริเวณหมู่เกาะฮาวายและประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้
เมื่อแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มลรัฐอลาสกา (The Great Alaska Earth-quake)
ในปี 1964 ก็ทำให้เกิดคลื่นสึนามิเข้าถล่มชายฝั่ง
หลายมลรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อลาสกา โอเรกอน ลงมาถึงแคลิฟอร์เนีย
ในเดือน กรกฎาคม ปี 1993
คลื่นสึนามิที่ก่อตัวขึ้นในทะเลญี่ปุ่นได้คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นไปกว่า 120 คน
และมีความเสียหายเกิดขึ้นกับประเทศเกาหลีและรัสเซีย
แต่ความเสียหายไม่มากไปกว่านั้นเพราะพลังของคลื่นสึนามิถูกจำกัดอยู่แต่ในทะเลญี่ปุ่นเท่านั้น
เหตุการณ์เช่นนี้เราเรียกว่า "เหตุการณ์ระดับภูมิภาค" (regional event)
เพราะจำกัดอยู่ในบริเวณที่เล็ก
สำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหวในทะเล
ในช่วงทศวรรษ 1990 (ปี
1990-1999) ได้เกิดคลื่นสึนามิระดับภูมิภาคขึ้นที่ นิคารากัว (1992)
อินโดนีเซีย (1994) ฟิลิปปินส์ รวมทั้งปาปัวนิวกินี (1998) และเปรู (1996)
ได้คร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคน นอกจากนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่อื่นๆ
คือความเสียหายของทรัพย์สินที่ชิลี (1995) และเม็กซิโก
บางครั้งความเสียหายก็เกิดขึ้นกับสถานที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป เช่น หมู่เกาะมาเคซัส
(Marquesas Islands)
ในโพลีนีเซียของฝรั่งเศส ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิที่ก่อตัวที่ชิลี
เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม ปี 1995 และจากคลื่นสึนามิที่ก่อตัวที่เปรู เมื่อวันที่
21 กุมภาพันธ์ ปี 1996
คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนที่จากด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังอีกด้านหนึ่งในเวลาน้อยกว่าหนึ่งวัน
อย่างไรก็ดี ประชาชนที่อยู่ใกล้กับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจจะพบว่ามีคลื่นสึนามิโถมซัดถึงฝั่งภายในไม่กี่นาทีหลังจากแผ่นดินไหว
ด้วยเหตุนี้เอง ภัยคุกคามจากคลื่นสึนามิในหลายพื้นที่ เช่น อลาสกา ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา
อาจเป็นแบบที่เกิดขึ้นทันทีจากเหตุแผ่นดินไหวใกล้ชายฝั่งเพราะใช้เวลาถึงฝั่งเพียงไม่กี่นาที
หรืออาจจะเป็นแบบที่ไม่ด่วนนัก หากคลื่นสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ห่างไกล
ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 ถึง 22 ชั่วโมง จึงจะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง

|
ภาพ ณ เมือง
พาการามัน (Pagaraman) เกาะบาบิ (Babi
Island) ประเทศอินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม
ปี 1992 คลื่นสึนามิเข้าทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่าง
เหลือไว้เพียงหาดทรายขาว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 700 คน
จากแผ่นดินไหวและสึนามิ
(ภาพโดย Harry Yeh จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน)
(อ่านต่อ)
|
หน้า
1 2
|