หน้า  1   2  

 
           
 

 

ประชาชนวิ่งหนีคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 1964

ณ เมืองฮิโล (Hilo) มลรัฐฮาวาย  ประเทศสหรัฐอเมริกา

(ภาพจากพิพิธภัณฑ์บิชอพ : Bishop Museum)

 

 

 
 

        
          การเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยจากคลื่นสึนามิ

  • ศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิในแถบแปซิฟิก (PTWC) และศูนย์เตือนภัยคลื่นสึนามิในระดับภูมิภาคอื่นๆ จะทำหน้าที่ออกประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิ ประกาศเฝ้าระวังและข่าวประกาศอื่นๆ  ให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลระดับท้องถิ่น รัฐ / จังหวัด ประเทศ รัฐบาล และระดับนานาชาติ รวมถึงสื่อมวลชน ผู้ใช้ข้อมูลซึ่งส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามะกระจายแก่ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ โดยผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์

  • เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยจะช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเตือนภัยสึนามิอย่างเร่งด่วนทันต่อเหตุการณ์

  • เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่น และผู้อำนวยการในภาวะฉุกเฉิน (emergency Manager) เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดแผนการอพยพประชาชนในบริเวณที่มีการแจ้งเตือนภัยจากคลื่นสึนามิ และเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผน ดังนั้นประชาชนในท้องถิ่นควรติดตามรับฟังการสั่งการให้อพยพผ่านสื่อประกาศในท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด และห้ามประชาชนกลับไปยังพื้นที่ต่ำ  จนกว่าภัยจากสึนามิจะผ่านพ้นไป  และจนกว่าหน่วยงานที่มีอำนาจสั่งการในท้องถิ่นจะประกาศว่าสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติเรียบร้อยแล้ว(all clear)

 


 
       
รูปภาพระบบ DART หรือระบบการประเมินและการรายงานเกี่ยวกับคลื่นสึนามิในมหาสมุทรลึก (Deep-ocean Assessment and Reporting on Tsunami System) (ภาพจาก NOAA/PMEL)   รูปภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของสถานีวัดแรงสั่นสะเทือน แบบช่วงคลื่นกว้าง (broad-band seismic station)
 

          งานวิจัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ
         
การที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีความสามารถสูงขึ้นและมีราคาถูกลง  ทำให้มีความสนใจและความเคลื่อนไหวในวงการวิจัยเรื่องคลื่นสึนามิมากขึ้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงรุ่นล่าสุด ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์คำนวณแบบจำลองเกี่ยวกับการก่อตัวของคลื่น การแพร่กระจายของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรเปิดและการทำนายระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุดที่บริเวณชายฝั่งทะเลได้...................................................................................อ่านต่อหน้า 2