-5-

1    2    3   4   5   6   7   8

 
 

          การเคลื่อนไหวของน้ำทะเล
         มวลน้ำทะเลไม่เคยอยู่นิ่ง  มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ลักษณะการเคลื่อนไหวที่สำคัญ มี 3 ประเภท คือ คลื่น  น้ำขึ้นน้ำลง และกระแสน้ำ

          คลื่น   เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติในทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลา สาเหตุหลักของการเกิดคลื่น คือ ลมที่พัดผ่านผิวมหาสมุทร ขนาดของคลื่นจะใหญ่หรือเล็กเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็ว ระยะทาง และระยะทางที่ลมพัดผ่านพื้นผิวน้ำ  หากมองด้วยสายตาจะเห็นว่าคลื่นพัดพาน้ำทะเลให้เคลื่อนที่ไปหาฝั่ง  แต่ที่จริงแล้ว คลื่นทำให้มวลน้ำเคลื่อนที่เป็นวงกลมตามแนวตั้งเหมือนวงล้อ (ดังภาพ) มวลน้ำจะเคลื่อนไปจนถึงจุดยอดคลื่นแล้วตกกลับลงมาที่จุดเดิมเมื่อคลื่นผ่านไป  มวลน้ำดังกล่าวจึงไม่มีระยะทางการเคลื่อนที่ในแนวราบแต่อย่างใด  การหมุนขึ้นลงของมวลน้ำตามแรงลมเป็นคลื่นนี้  จะเกิดขึ้นแต่เฉพาะมวลน้ำที่อยู่บนผิวน้ำเท่านั้น  ส่วนมวลน้ำที่อยู่ลึกลงไปเกินครึ่ง เกินครึ่งของระยะความยาวคลื่นแบจะไม่เคลื่อนไหวเลย
          ปรากฏการณ์นี้เห็นได้จาก  ขณะที่เราว่ายน้ำอยู่นอกเขตคลื่นที่แตกเป็นฟอง  ตัวเราจะลอยขึ้นและลงตามแรงคลื่น แต่จะไม่เคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ในกรณีที่เกิดการเคลื่อนที่ของตัวเรา เป็นเพราะแรงของกระแสน้ำต่างหาก
          หากลมที่พัดผ่านผิวน้ำมีพลังงานมากพอให้เกิดคลื่น ที่มีค่าความยาวคลื่นมากกว่า 2 เท่าของความตื้นหรือความลึกของน้ำทะเล คลื่นที่เกิดจะเป็นคลื่นที่แตกต่างหรือมีความสูงโดดเด่นขึ้นมา
          ทั้งนี้ทั้งนั้น   มีคลื่นชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้เกิดจากลม  และมักจะเป็นคลื่นที่มี





 
 

ขนาดใหญ่จนก่อความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ชุมชนที่อยู่บริเวณชายฝั่งด้วยคือ Tidal  wave  หรือ  สึนามี (Tsunami)  ซึ่งสาเหตุของการเกิด คือ แผ่นดินไหวหรือการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหว  พื้นทะเลจะเกิดการสั่นสะเทือนหรือเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงและฉับพลัน  พลังงานที่เกิดขึ้นทำให้มวลน้ำเคลื่อนที่ เกิดการถ่ายเทพลังงานจากจุดกำเนิดหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปรอบๆ ยอดคลื่นสึนามิอาจจะห่างกันเป็นร้อยๆ  กิโลเมตร  และมีความเร็วถึง 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ขณะที่คลื่นผ่านท้องทะเลลึกความสูงของคลื่นจะไม่สูงมากนัก เรือแล่นผ่านบนคลื่นนี้ได้  แต่เมื่อคลื่นเข้ามาบริเวณน้ำตื้นที่มีความลึกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น ก็จะเกิดเป็นคลื่นยักษ์พุ่งเข้าสู่ฝั่งด้วยความรุนแรง  จนเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คน  ดังเช่นในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ภูเขาไฟใต้น้ำทะเลเกิดระเบิดขึ้นหลายครั้ง จนเกาะกรากาตั้ว (Krakatoa) หายไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าสู่เกาะสุมตราและเกาะชวา ของประเทศอินโดนิเซีย ทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็ฯพันๆ และไร้ที่อยู่อาศัยอีกมากมาย รวมถึงเหตุการณ์ใหญ่ที่ขึ้นเมื่อปลายเดือนธันวาคม  2548  ปรากฏการณ์ครั้งแรกที่ประเทศไทยต้องประสบภัยสึนามิ ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตอย่างมากมายมหาศาล

 

อ่านต่อ