คำนำ I ประวัติความเป็นมา I ป่าชายเลนจังหวัดเพชรบุรี I พันธุ์ไม้ที่ปลูก I คุณภาพดิน I คุณภาพน้ำ I ชนิดของสัตว์ I สาหร่ายและหญ้าทะเล

 
  พันธุ์ไม้ที่ปลูก :

        สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม ศูนย์ฯ ห้วยทราย อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอดเวลา ติดชายฝั่งทะเลมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 106 ไร่ สำหรับคุณภาพของดินและน้ำบริเวณปลูกสวนป่าชายเลน มีรายละเอียดในบทต่อไป กาปลูกสวนป่าชายเลนโดยหลักเกณฑ์มีขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการดังนี้

 

  • การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูก

  • การคัดเลือกฝักและกล้าไม้

  • การกำหนดระยะการปลูก และการปลูก

  • การบำรุงรักษา

          การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนนั้นจะต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมของพันธุ์ไม้แต่ละชนิด โดยพิจารณาจากการขึ้นอยู่ของพันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ ซึ่งจะขึ้นอยู่เป็นเขตของแต่ละชนิดจากชายฝั่งทะเลจนถึงด้านในสุดของป่า  การเลือกพื้นที่

สำหรับจะปลูกต้นไม้โกงกางจะต้องเป็นพื้นที่ดินเลนมีน้ำท่วมถึงอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม้แสมจะชอบพื้นที่ดินเลนปนทราย และมีน้ำท่วมถึงอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับลำพู ลำแพน แต่ดินจะค่อนไปทางดินทราย พวกไม้ถั่วไม้โปรง ไม้พังกาหัวสุมจะต้องเป็นพื้นที่เลนตื้นและมีน้ำท่วมสม่ำเสมอ  สำหรับไม้ตะบูน ไม้ตาตุ่มจะชอบที่ดินค่อนข้างแข็ง ดินเหนียวและมีน้ำท่วมบางครั้งคราว อย่างไรก็ตามจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะต้องพิจารณาอีกหลายประเภท เช่น ความเค็มของน้ำทะเล ไม้โกงกางขึ้นในที่มีความเค็มสูงกว่าไม้ตะบูน หรือไม้ตาตุ่ม เป็นต้น เมื่อได้พื้นที่แล้วจำเป็นจะต้องมีการเตรียมพื้นที่คือ หากมีพวกเถาหรือปรงทะเล จำเป็นจะต้องกำจัดเสียก่อนเพื่อป้องกันการแก่งแย่งทั้งอาหารและแสง หรือถ้าเป็นพื้นที่ดินเลนแต่ค่อนข้างเป็นเนินสูงน้ำทะเลท่วมเล็กน้อยบางครั้งบางคราว จะต้องปรับพื้นที่ให้น้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอหากจะปลูกไม้โกงกาง แต่ถ้าเป็นพื้นที่น้ำขังจะต้องทำท่อระบายและต้องให้น้ำทะเลขึ้นลงในพื้นที่ด้วย หากต้องการปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนให้ได้ผลดีอย่างมีประสิทธิภาพ

   การคัดเลือกฝักและกล้าไม้ พรรณไม้พวกโกงกาง หรือ Rhizophoraceae  ผลจะมีลักษระเป็นฝักอยู่ติดกับกิ่ง เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ถั่วขาว ถั่วดำ โปรงขาว และโปรงแดง เป็นต้น หรือเป็นฝักที่สามารถเก็บได้ตามพื้นป่า แต่ถ้าเป็นฝักที่ยังติดอยู่บนต้น ไม้บางชนิดอาจจะสังเกตได้คือ ฝักแก่ของโกงกางใบใหญ่ตรงขั้วจะเป็นสีเหลือง ส่วนโกงกางใบเล็กจะเป็นสีแดง นอกจากนี้ฝักที่จะนำไปปลูกจะต้องสังเกตตามผิวของฝักจะต้องไม่มีรูเจาะ ซึ่งเป็นพวกแมลงปีกแข็ง ( Poecillips fallax  ) มิฉะนั้นแล้วเมื่อนำไปปลูกกล้าไม้จะอ่อนแอและตายในที่สุด นอกจากนี้การปลูกไม้ป่าชายเลนอาจจะจ้องใช้กล้าไม้ที่งอกอยู่ในป่าธรรมชาติ โดยขุดมาชำไว้ในถุงพลาสติก และเก็บดูแลบำรุงรักษาในเรือนเพาะชำเป็นเวลา 4-5 เดือน เมื่อลูกไม้แข็งแรงดีแล้ว ก็นำไปปลูกในพื้นที่เตรียมไว้ได้ และการปลูกโดยใช้ลูกไม้จากเรือนเพาะชำนั้น สำหรับไม้บางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดี
         การกำหนดระยะการปลูกและการปลูก โดยทั่วไปเพื่อผลการเจริญเติบโตที่ดีและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การปลูกไม้โกงกางจะปลูกระยะห่างระหว่างต้น 1
x1 เมตร หรือ 1.5 x 1.5 เมตร แต่อย่างไรก็ตามระยะห่างระหว่างต้น ก็ขึ้นรอยู่กับว่าจะใช้ไม้ทำประโยชน์อะไร คือจะใช้ไม้ขนาดไหนและอายุเท่าใด คือถ้าต้องการนำไม้ไปใช้ทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือดักปู หรืเสาสำหรับเลี้ยงหอยนางรม หรือหอยแมลงภู่ ซึ่งอาจจะใช้ไม้ขนาดเล็ก ก็ใช้ระยะปลูกแคบ คือ 0.5 x 0.5  เมตร สำหรับการปลูกจะต้องให้เป็นแถวเป็นแนว หากปลูกโดยใช้ฝักอาจจะปลูกโดยตรงไม่ต้อมีหลักไม้ แต่ถ้าปลูกด้วยกล้าควรจะมี

วัดการเจริญเติบโตของสวนป่าชายเลน
 

หลักไม้ปักไว้ก่อน การปักหลักนอกจากจะมีประโยชน์เป็นแถวเป็นแนวแล้ว ยังจะใช้ผูกกล้าไม้ติดกับหลักด้วย เพื่อป้องกันการพัดพาของลมและกระแสน้ำ  ปัจจุบันการปลูกไม้โกงกางนิยมใช้ปลูกจากฝักโดยตรง แต่สำหรับไม้ชนิดอื่น นิยมปลูกโดยใช้กล้าไม้จากเรือนเพาะชำ เพราะจะได้ผลดีกว่า

 

 

 
   
ต้นไม้โกงกางใบใหญ่ที่ทูลกระหม่อมทรงปลูก มีลักษณะสมบูรณ์ บางต้นกำลังออกรากอากาศ

 

 

          การบำรุงรักษาของต้นไม้ที่ปลูกเป็นสิ่งจะเป็นอย่างมากหลังการปลูกเนื่องจากอาจจะมีแมลงกินใบ ซึ่งจะต้องกำจัดและเก็บทิ้งให้หมด การกำจัดวัชพืชชนิดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในสวนป่าชายเลน ที่ปลูกเพื่อลดการแก่งแย่ง วัชพืชที่สำคัญและพบปริมาณมาก ได้แก่ ปรงทะเล (Acrostichum spp. )  เหงือกปลาหมอ (Acanthus spp. )  และเถาชนิดต่างๆ เช่น เถาถอบแถบ (Derris trifoliata )  และเถากระเพาะปลา (Finlaysonia maritima )  เป็นต้น
          สวนป่าชายเลนศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปลูกป่าชายเลนบริเวณคลองลางกราน้อย พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน โดยได้ทรงปลูกไม้โกงกางใบใหญ่ (
Rhizophora mucrotana ) ไว้ประมาณ 1 ไร่ จำนวน 202 ต้น นออกจากนั้น ว่าที่ ร.ต.อารี สุวรรณจินดา ได้ปลูกเพิ่มเติมได้พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 105 ไร่ โดยใช้ไม้โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสม พังกาหัวสุมดอกแดง โรงแดง ถั่วขาวและต้นจาก เป็นต้น

ไม้โกงกางใบใหญ่ที่ตายเนื่องจากเพรียงเกาะตามลำต้น รากเน่า และหนอนกินใบ
หนอนชักใย Lappet moths
วงศ์  Lasio comdidae
หิ่งห้อย fire flies
วงศ์  Lampyridae

          สำหรับสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม เป็นส่วนป่าไม้โกงกางใบใหญ่ ซึ่งได้ทรงปลูกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 จนกระทั่งวันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ซึ่งคณะนักวิจัยได้ไปสำรวจตรวจวัด และพบว่าไม้โกงกางใบใหญ่ที่ได้ทรงปลูกทั้งหมด 202 ต้น ตายเพียง 19 ต้น หรือคิดเป็น 9.4 % ของไม้ที่ปลูกทั้งหมดเท่านั้น ไม้โกงกางใบใหญ่ที่เหลือมีการเจริญเติบโตดี สำหรับอัตราการเจริญเติบโตของไม้โกงกางใบใหญ่ที่ทรงปลูก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 รวมเวลา 1 ปี 3 เดือน พอสรุปได้ดังนี้

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ  85.6  เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  2  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  22  ใบ

  • จำนวนรากต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  3  ราก

         ต้นไม้โกงกางใบใหญ่ที่ทรงปลูกมีอัตราการตายต่ำมาก ส่วนสาเหตุของการตายนั้นมีสาเหตุส่วนใหญ่จากรากเน่า อันนี้เนื่องจากพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่น้ำขังและน้ำนิ่ง จึงไม่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียน โดยเฉพาะออกซิเจนมีปริมาณไม่เพียงพอเพื่อการหายใจ และอีกสาเหตุหนึ่งสภาพพื้นที่น้ำขังทำให้เกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ปริมาณสูงทำให้รากเน่าได้ การแก้ไขควรจะทำให้น้ำมีระบบหมุนเวียน อย่าให้น้ำขังและนิ่ง นอกจากนั้นมีแมลงและหนอนกินใบบ้าง แต่ก็ไม่มากนักซึ่งจะต้องกำจัดโดยการเก็บและทำลายให้หมด เพรียงซึ่งมีเป็นจำนวนมากที่เกาะตามลำต้นเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ทำให้โกงกางใบใหญ่ตาย
        สวนป่าชายเลนของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากไม้โกงกางใบใหญ่ที่ทูลกระหม่อมทรงปลูกแล้ว ยังมีไม้ชนิดอื่นที่ทาง ว่าที่ ร.ต.อารี สุวรรณจินดา ได้ปลูกอีก คือ โกงกางใบเล็ก แสม พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงแดง และถั่วขาว ซึ่งในระยะเวลา 10 เดือน การเจริญเติบโตสรุปได้ดังนี้

       โกงกางใบเล็ก

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ  54.8  เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  6  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  47  ใบ

พวกหนอนแมลงที่พบบนใบ
ต้นโกงกางใบใหญ่

หนอนปลอก bag-worm moths
วงศ์  Psychidae

 

บุ้งปกขาว Leaf-eating caterpillar
วงศ์  Lymantriidae
   

            แสม

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ  70.2  เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  6  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  164  ใบ
    พังกาหัวสุมดอกแดง

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ  39.1   เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  1  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  10  ใบ

            โปรงแดง

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาร  34.7   เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  3  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  15  ใบ
    ถั่วขาว

  • ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาร  35.0   เซนติเมตร

  • จำนวนกิ่งต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  2  กิ่ง

  • จำนวนใบต่อต้นเฉลี่ยประมาณ  25   ใบ

   
ไม้โกงกางใบเล็ก ไม้โกงกางใบเล็กและถั่วขาว
ต้นจาก ไม้โปรงแดง

          การเจริญเติบโตของพรรณไม้ป่าชายเลนที่ปลูกบริเวณศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม มีการเจริญเติบโตค่อนข้างดี และอัตราการตายต่ำ  แต่สิ่งที่จะต้องปรับปรุงคือ จะต้องปรับปรุงให้มีการหมุนเวียนการขึ้นลงของน้ำ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของไม้ป่าชายเลนให้ดีขึ้น และเป็นการลดอัตราการตายอีกด้วย แทนที่จะเป็นพื้นที่น้ำขังและนิ่งดังสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

 
...................  
ที่มาของข้อมูล : หนังสือสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (เล่ม 1 การศึกษาวิจัยเบื้องต้น)จัดทำโดย สำนักงาน กปร.  

 

ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ.  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สวนจิตรลดา เขตดุสิต กทม.
โทร. 02-2821850, 02-2820665  หรือ  Email :
bio_club@rspg.org