คำนำ I ประวัติความเป็นมา I ป่าชายเลนจังหวัดเพชรบุรี I พันธุ์ไม้ที่ปลูก I คุณภาพดิน I คุณภาพน้ำ I ชนิดของสัตว์ I สาหร่ายและหญ้าทะเล

 
  ชนิดของสัตว์ :

1   2   3   4

        เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า บริเวณป่าชายเลนย่านน้ำกร่อยมักจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารของสัตว์น้ำนานาชนิด จึงนับเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสืบพันธุ์ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และจะเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี
          การศึกษาสำรวจชนิดของปริมาณสัตว์น้ำบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อมเบื้องต้น พอสรุปได้ดังนี้

     

ปลาหมอเทศที่ทอดแหได้จาก
แปลงทดลอง

ลำคลองบางกราน้อย

ทอดแหจับปลาในลำคลองบางกราน้อย

  • ปลา
         ในบริเวณสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม จะพบลูกปลาอยู่เป็นฝูง ฝูงเล็กบ้างใหญ่บ้างตามนิสัยการเป็นอยู่ของแต่ละชนิด เช่น ปลากระบอกมักพรวมเป็นฝูงใหญ่ นับเป็นสิบๆ ตัวขึ้นไป ส่วนปลาตะกรับอยู่กันเพียง 2-3 ตัว เป็นต้น ในสวนป่าชายเลนแห่งนี้มีคลองชื่อ บางกราน้อย ซึ่งเป็นลำน้ำเล็กๆ ผ่านออกสู่ทะเลได้ ถึงแม้จะเป็นป่าลูกก็ตาม ในเวลาเพียงปีเศษก็ยังพบพันธุ์ปลาในบริเวณลำคลองเช่นกัน ในการศึกษาเบื้องต้นนี้ ผลผลิต (
    productivity) ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประมาณ 20 มก./ม
    2  พันธุ์ไม้ที่ปลูกยังเติบโตไม่เต็มที่ การที่จะอาศัยให้เป็นแหล่งหาอาหารและอาศัยร่มเงาในการอนุบาลสัตว์วัยอ่อนก็ยังไม่ได้มากนัก  จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอยู่นั้น พบว่าบางฤดูจะมีปลาจำนวนมาก โดยเฉพาะปลากระบอกและปลาหมอเทศ ซึ่งตรงกับที่ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ และมีปลาบางชนิดที่มีผู้พบมาก่อนแต่ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้อยู่สองชนิดคือ ปลากระพงขาว และปลานวลจันทร์ทะเล
    การศึกษาสำรวจพันธุ์ปลาครั้งนี้ ได้พบปลาเพียง 9 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาเศรษฐกิจ เป็นอาหารของชาวบ้านได้ทุกชนิด ซึ่งได้แก่

       
    ปลากระบอกหางแบน

    Mugil dussumieri (C.&V.)

    กระบอก

    Mugil sunviridis (C.&V.)

    กระพงขาว

    Lates calcarifer (Bloch)

    ข้างลาย

    Therapon jarboa (Forskal)

    นวลจันทร์ทะเล

    Chanos chanos (Forskal)

    ตะกรับ

    Scatophagus argus (L.)

    ดอกหมาก

    Gerres abbreviatus Bleeker

    ตีน

    Periophthalmodon sp.

    หมอเทศ

    Tilapia mossambica (Peters)

     

    ปลากระบอก Mugil dussumieri (C.&V.)

     

    ปลากระบอก กระบอกหางแบน (Mullet)

    วงศ์Mugilidae   พบ  2 ชนิด คือ
    Mugil dussumieri (C.&V.) และ Mugil sunviridis (C.&V.)

            ปลากระบอกในวงศ์ Mugilidae   มีลำตัวค่อนข้างยาว ส่วนหัวมักทู่และมน ปากเล็ก เกล็ดใหญ่ สีขาวเงิน มีอยู่มากชนิด ในทะเลและย่านน้ำกร่อย โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลน มีนิสัยชอบรวมอยู่เป็นฝูงใหญ่ เป็นปลาที่กินพืชน้ำพวกสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร ฝูงลูกปลากระบอกซึ่งมีจำนวนมากจะว่ายหากินตามบริเวณปากแม่น้ำย่านน้ำกร่อยและเลยลึกเข้าไปในลำคลองที่ผ่านบริเวณป่าแสม โกงกาง นับเป็นปลาเศรษฐกิจมีผู้นิยมรับประทานมาก มีเนื้ออร่อย เหมาะในการปรุงอาหารได้หลายอย่าง

     

    ปลากระพงขาว Lates calcarifer   (Bloch)


    ปลากระพงขาว (
    White seabass, Giant seaperch)
    วงศ์
    :  Latidae
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lates calcarifer (Bloch)
            เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เป็นที่นิยมเลี้ยงและรับประทานกันแพร่หลาย รูปร่างลำตัวยาว จะงอยปากยื่นยาวและแหลม ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ สีพื้นลำตัวขาวเงินปนสีน้ำตาล ด้านท้องสีขาว ในธรรมชาติสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืด พบอยู่ทั่วไปในแถบชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะย่านป่าชายเลน มักจะอพยพเข้าไปหาอาหารและอาศัยในแม่น้ำลำคลองย่านน้ำกร่อย นิสัยการกินอาหารเป็นพวกปลากินเนื้อ พวกลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ ราคาค่อนข้างแพง รสชาติดี นิยมรับประทานกันมาก ขณะนี้มีการเพาะเลี้ยงกันแพร่หลายมาก นักวิชาการประมงประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ในบ่อเลี้ยง สามารถผลิตลูกปลาได้มาก อีกทั้งยังส่งจำหน่ายต่างประเทศได้อีกด้วย

     

    ปลานวลจันทร์ทะเล Chanos chanos  (Forskal)

     

    ปลานวลจันทร์ทะเล หรือชะลิน  (Milkfish)
    วงศ์
    :  Chanidae
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chanos chanos  (Forskal)
              เป็นปลาที่ปรับตัวได้ดี อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยเฉพาะลูกปลาวัยอ่อนจะเข้ามาอาศัยเจริญเติบโตในป่าชายเลนที่มีทางน้ำติดต่ออกสู่ทะเล เมื่อถึงฤดูลูกปลาเข้ามาประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม ชาวบ้านจะคอยจับโดยใช้เครื่องมือเรียกว่า "ซั้ง" ซึ่งจะนำลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อต่อไป  ในประเทศฟิลิปปินส์มีการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลนี้กันอย่างแพร่หลาย และยังส่งลูกปลาไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไต้หวัน เป็นปลาที่รู้จักกันดีของชาวฟิลิปปินส์ ซึ่งเรียกปลาชนิดนี้ว่า Bandang เช่นเดียวกับที่คนไทยรู้จักปลาทู  ลักษณะของลำตัวเพรียวยาว จะงอยปากค่อนข้างแหลม หางหยักเว้ารูปส้อม  ลำตัวมีสีขาวเงิน เกล็ดเล็กละเอียด ด้านบนลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน นิสัยการกินเป็นปลากินพืช โดยเฉพาะพวกสาหร่ายทะเล ปลาชนิดนี้สามารถนำมาเลี้ยงในบ่อน้ำจืดได้ แต่ต้องค่อยๆ เปลี่ยนลดความเค็มของน้ำลงเรื่อยๆ วิธีการนี้เรียกว่า acclamatization  ปลาที่เจริญวัยพร้อมสืบพันธุ์จะวางไข่ในทะเลลึก และลูกปลาจะเข้ามาอาศัยเจริญในธรรมชาติตามป่าชายเลน ในประเทศไทยมีการจับลูกปลาได้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จันทบุรี และตราด เป็นต้น

 
...................  
ที่มาของข้อมูล : หนังสือสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (เล่ม 1 การศึกษาวิจัยเบื้องต้น)จัดทำโดย สำนักงาน กปร.  

 

ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ.  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สวนจิตรลดา เขตดุสิต กทม.
โทร. 02-2821850, 02-2820665  หรือ  Email :
bio_club@rspg.org