คำนำ I ประวัติความเป็นมา I ป่าชายเลนจังหวัดเพชรบุรี I พันธุ์ไม้ที่ปลูก I คุณภาพดิน I คุณภาพน้ำ I ชนิดของสัตว์ I สาหร่ายและหญ้าทะเล

 
 

1   2   3   4

ปลาข้างลาย ข้างตะเภา หรือออดแอด(Grunter, Croaker
Therapon jarbua 
(Forskal)

  • ปลาข้างลาย ข้างตะเภา ครืดคราด หรือ ออดแอด (Grunter, Croaker)

    วงศ์ Theraponidae  
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  
            เป็นปลาที่หากินบริเวณชายฝั่งทะเลย่านน้ำกร่อย และบริเวณป่าชายเลน ลำตัวค่อนข้างสั้น ปากเล็ก ลำตัวสีขาวเงิน และมีแถบดำพาดตามลำตัว 3 แถบ ซึ่งแถบนั้นจะโค้งต่ำลงตอนกลาง จะต่างจากอีกชนิดหนึ่งคือ T.theraps  ซึ่งจะมีแถบดำ 3 แถบเช่นกัน แต่พาดยาวตรงตามแนวราบ และก็มักจะพบปะปนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ปลาในวงศ์นี้สามารถทำเสียงได้ ชาวประมงได้ยินเสียงจึงตั้งชื่อว่าครืดคราด หรือ ออดแอด ปลามีนิสัยชอบกินพวกเนื้อสัตว์ ตัวยาวขนาด 15-20 ซม. ชาวบ้านก็จับมารับประทานได้แล้ว มักนิยมรับประทานกันในหมู่บ้าน ในท้องถิ่น ไม่สู้แพร่หลายเช่นปลากระบอกหรือปลากระพงขาว

     

     

    ปลาตะกรับ กะทะ หรือเสือดาว Scatophagus   (L.)


    ปลาตะกรับ กะทะ หรือเสือดาว (
    Scat)
    วงศ์
    :  Scatophagidae
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scatophagus argus  (L.)
            เป็นปลาที่มีอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล และย่านน้ำกร่อยในบริเวณป่าชายเลน เป็นพวกที่ปรับตัวได้ดี สามารถนำมาเลี้ยงในน้ำจืดได้ เป็นปลาตู้สวยงาม ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ปลาโตขนาดประมาณ 10 ซม. ก็นำมาเป็นอาหาร แต่ก็แพร่หลายซื้อขายภายในหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ รูปร่างลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบนข้างมาก เกล็ดเล็กละเอียด มีแต้มดำขนาดไม่เท่ากัน เล็กบ้างใหญ่บ้างประทั้งตัว พื้นตั้วเป็นสีคล้ำ มีสีเหลืองหรือนวลแซมบ้าง

     

     

    ปลาดอกหมาก เกล็ดข้าวเม่า (Silver biddy)
    Gerres abbreviatus  (Bleeker)

     

    ปลาดอกหมาก เกล็ดข้าวเม่า  (Silver biddy)
    วงศ์
    :  Leiognathidae
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gerres abbreviatus  (Bleeker)
              เป็นปลาวงศ์เดียวกับปลาแป้น นักวิชาการบางท่านแยกออกไว้ต่างหาก และมีชื่อวงศ์ว่า Gerridae ปลาชอบหากินตามชายฝั่งทะเล และย่านน้ำกร่อยบริเวณปากแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเล รวมทั้งบริเวณป่าชายเลน มีรูปร่างลำตัวสั้นรูปรี เกล็ดเป็นสีขาวเงิน ปากเล็กยืดหดได้ เป็นปลาฝูง มีครีบหลัง ตอนหน้ายกสูงขึ้น และลาดลงมาทางด้านหลัง ลำตัวมีจุดดำประเป็นแถวๆ กลายแถว ขนาดไม่โตนัก ขนาดที่พบประมาณ 10-15 เซนติเมตร

     

     

    ปลาตีน หรือ กระจัง (Mud skipper)

     

    ปลาตี หรือ กระจัง (Mud skipper)
    วงศ์
    :  Periophthalmidae
                ปลาวงศ์นี้มีอยู่หลายสกุล เช่น  Boleophthalmus ,  Scartelaos,  Periophthalmus, Periophthalmodon
    เนื่องด้วยไม่สามารถนำมาศึกษาชนิดได้ว่าเป็นชนิดใดแน่ จึงขออธิบายในลักษณะทั่วๆ ไป
               ปลาตีมักจะพบกระโดดอยู่บนพื้นหาดเลน หรือเกาะอยู่ตามรากของพันธุ์ไม้ในย่านป่าชายเลน และทั้งยังสามารถว่ายน้ำได้ มีลำตัวยาว หัวมักจะโตและมีตาโตโปน กระบอกตายกขึ้นเหนือระดับผิวหนัง ทำให้เห็นเด่นชัด ลูกตาสามารถกลิ้งไปมาได้เพื่อรับน้ำในแอ่งเบ้าตาด้านล่าง ทำให้ลูกตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ ด้านใต้ลำตัวมีครีบท้องซ้ายและขวามาเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ใช้ช่วยในการเคลื่อนที่ให้การเกาะบนพื้นเลนหรือกิ่งไม้ได้ดี ชาวบ้านบางท้องที่จะรับประทานปลาตีนนี้ด้วย ในบางแห่งจะพบขนาดโตมาก ขนาดยาวกว่า 20 เซนติเมตร ลำตัวมีสีคล้ำดำ กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม อาจมีจุดประหรือเส้นแถบลายพาดได้

     

     

    ปลาหมอเทศ (Tilapia)
    Tilapia mossambica  (Peters)

     

    ปลาหมอเทศ  (Tilapia)
    วงศ์
    :  Cichidae
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tilapia mossambica  (Peters) (= Oreochromis mossambica )
              เป็นปลาที่นำมาจากต่างประเทศ ถิ่นอาศัยเดิมมาจากทวีปอาฟริกา สามารถแพร่พันธุ์ได้ดีทั่วประเทศไทย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย เลี้ยงง่าย โตเร็ว วางไข่ได้ปีละ 3-4 ครั้ง แต่เป็นปลาไม่ค่อยมีราคา จัดเป็นปลาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับปลานิล ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน คือ Tilapia nilocica  (L.) จะพบอยู่ทั่วๆ ไปเช่นเดียวกัน และชอบสภาวะที่อยู่ในลักษณะเดียวกัน อาการเป็นพวกพืชน้ำ สาหร่าย พืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย  ลักษณะตัวปลาสั้น แบนข้าง สีลำตัวเป็นเทาปนดำ ด้านข้างตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ท้องสีจางออกเป็นสีครีม ครีบหลังเป็นแผงยาวและตั้งสูง ครีบก้นยาว ครีบหางกว้างปลายมน ขอบครีบสีชมพูอ่อน ปลาเพศผู้จะมีขนาดใหญ่สีเข้ม ส่วนเพศเมียจะเล็กกว่าและมีสีจางกว่า ปลาหมอเทศจะดูต่างจากปลานิลคือ จะไม่มีลายสีดำพาดบนครีบหลัง ครีบก้นและครีบหาง ซึ่งลายนี้จะสลับด้วยจุดประสีขาวและหางจะกลมมน

 
...................  
ที่มาของข้อมูล : หนังสือสวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม (เล่ม 1 การศึกษาวิจัยเบื้องต้น)จัดทำโดย สำนักงาน กปร.  

 

ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ.  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สวนจิตรลดา เขตดุสิต กทม.
โทร. 02-2821850, 02-2820665  หรือ  Email :
bio_club@rspg.org